สถานที่ท่องเที่ยว จ.กาญจนบุรี สะพานมอญ สังขละบุรี

          1

          สะพานมอญ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานอุตตมานุสรณ์​ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลียไปยังหมู่บ้านมอญ ถือเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับสองของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เป็นสะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชนที่อาศัยอยู่ในสังขละบุรี ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ พร้อมๆ กับการได้เห็นวิถีชีวิตชุมชนชาวมอญในแถบนี้ สิ่งที่ห้ามพลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือการได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก กับสะพานที่เสมือนเป็นสายใยวัฒนธรรมของชาวมอญและไทยในดินแดนสุดขอบประเทศแห่งนี้

3

          การเที่ยวชมสะพานมอญ ควรแวะเดินชมตั้งแต่เช้า โดยเฉพาะช่วงเวลา 6.00 – 7.00 น. เป็นช่วงที่ได้เห็นวิถีชีวิตชาวมอญ ใส่บาตรพระทุกเช้า หากนักท่องเที่ยวต้องการใส่บาตร ก็มีอาหารขายบริเวณหมู่บ้านมอญ สายๆ หากเดินข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้านมอญ ก็สามารถเที่ยวชมบ้านเรือนในแบบชาวมอญ ซื้อของที่ระลึก หรือจะแวะชิมขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ที่เป็นอาหารพื้นบ้านชาวมอญก็ได้

2

วิถีชีวิตชาวมอญที่พบเห็นได้บริเวณสะพานมอญ และหมู่บ้านมอญ
เมื่อความเจริญค่อยๆ คืบคลานเข้าสู่หมู่บ้านมอญ การเดินทางมีความสะดวกสบายขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น มีธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาในสังคม ทำให้วิถีชีวิตชาวมอญเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมใหม่ที่แทรกซึมเข้ามาสู่ชุมชน แต่ก็ยังได้เห็นกลิ่นไอความเป็นมอญบางอย่างหลงเหลืออยู่บ้้าง แต่ละครอบครัวในหมู่บ้านมอญ ส่วนใหญ่คนหนุ่มสาว จะเข้าไปรับจ้างทำงานในตัวเมือง เราจึงมักเห็นการดำเนินชีวิตประจำวันแบบมอญของเด็กๆ และผู้สูงวัย มากกว่าวัยรุ่น

นักท่องเที่ยวที่มาสังขละบุรีจึงอาจจะได้เห็นลักษณะความเป็นมอญบางอย่างที่หลงเหลืองอยู่

 – กิจวัตรประจำวันของชาวมอญ ที่นักท่องเที่ยวสนใจกันเป็นอย่างมาก คือการใส่บาตรในช่วงเช้า โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะตื่นแต่เช้า นำขันใส่ข้าวสวยมานั่งรอบนพื้นถนนเป็นแถว เพื่อรอพระมาบิณฑบาตร ชาวบ้านมักจะใส่บาตรด้วยข้าวสวย และดอกไม้ และกราบพระลงกับพื้นถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจสำหรับนักท่องเที่ยว หากใครต้องการใส่บาตร ก็สามารถร่วมใส่บาตรตอนเช้ากับชาวมอญได้ เพราะมีชุดสำหรับใส่บาตรจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวด้วย

ตักบาตร

 – จะได้เห็นวัฒนธรรมการเทินของไว้บนหัวของชาวมอญ ซึ่งบางคนยังคงนิยมเทินสิ่งของไว้บนหัว แทนการห้ิวสัมภาระมากมาย บางคนสามารถเทินของได้สูงๆ หรือหนักมากๆ แล้วยังสามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว 

เทินของไว้หัว

ได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมอญ สังเกตได้จากการแต่งกายโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง เสื้อแขนกระบอกสามส่วน มีผ้าแถบยาวเหมือนสไบพาดไว้ที่บ่า ผมรวมมัดเป็นมวยไว้ด้านหลัง ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง บนใบหน้าของหญิงชายชาวมอญ รวมถึงเด็กๆ นิยมทาแป้งทานาคา ที่มีสีออกเหลืองนวลๆ ฉาบไว้ที่ใบหน้า (แป้งทานาคาทำจากท่อนไม้ต้นทานาคาฝนกับแป้นหินทราย ทาบนหน้าแล้วเกลี่ยด้วยแปรง)

sk12

ในหน้าร้อน บริเวณสะพานมอญ เหมือนเป็นสวนน้ำสำหรับเด็กๆ จะมีเด็ก มาเล่นน้ำใสๆ ในแม่น้ำซองกาเลีย และกระโดดน้ำจากสะพานมอญ

เล่นน้ำ

เดิมบ้านของชาวมอญมักปลูกสร้างด้วยไม้กระดาน หรือเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นสร้างด้วยปูนบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ยังคงสภาพเดิมๆ ไว้ ให้เห็นถึงความเป็นบ้านมอญ ถ้าสังเกตดีๆ บ้านมอญมักจะมีผนังด้านหนึ่ง ทำเป็นเหมือนส่วนเกินยื่นออกมาคล้ายมุขหน้าต่าง นูนเป็นกล่องตรงผนังบ้าน มุขที่ว่านี้ก็คือ ห้องพระ หรือหิ้งพระของบ้าน บางบ้านจะตกแต่งส่วนของมุขนี้ไว้อย่างสวยงาม

 1375163756-12-o

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้สะพานมอญ

ตลาดวัดวังก์  อยู่ห่างไปประมาณ 1 กิโลเมตร เดินข้ามสะพานมอญไป แล้วเดินผ่านหมู่บ้านชาวมอญ จนถึงถนนเส้นหลัก ข้ามถนนไปตลาดอยู่เยื้องๆ ไปทางซ้ายมือ

1ตลาดวัดวังก์

วัดวังก์วิเวการาม  อยู่ห่างไปประมาณ 2.7 กิโลเมตร

1วัดวังก์การาม

เจดีย์พุทธคยา  อยู่ห่างไปประมาณ 2.5 กิโลเมตร

 สังขละบุรี

ข้อแนะนำ
– นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมวิว และสัมผัสอากาศเย็นในช่วงเข้าฤดูหนาว ประมาณเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ตอนเช้าจะได้สัมผัสไอหมอกที่ปกคลุมบนท้องน้ำและยอดเขา

– การเที่ยวชมสะพานไม้มอญ มักจะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น และหัวค่ำ ช่วงกลางวันแดดค่อนข้างร้อน

– หากต้องการร่วมใส่บาตรบริเวณสะพานไม้มอญ ควรไปถึงบริเวณสะพานก่อน 6.00 น. การใส่บาตรจะอยู่ฝั่งหมู่บ้านมอญ มีร้านค้าจำหน่ายของใส่บาตรไว้เป็นชุดๆ จำหน่ายชุดละ 99 บาท (สามารถโทรติดต่อสอบถาม หรือสั่งจองได้ที่ ร้านป้าหยิน โทร. 08-1792-4244, 09-0794-2448)

– บริเวณสะพานมอญ (ฝั่งหมู่บ้านมอญ) มีที่บริการจอดรถ เลี้ยวเข้าซอยสะพานไม้ สุดซอยซ้ายมือมีที่จอดรถแบบเก็บค่าบริการ (20 บาท)

 การเดินทางไปสะพานมอญ สะพานมอญมีสองฝั่ง ฝั่งนึงอยู่ห่างจากตัวเมืองสังขละบุรีไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร หากขับรถไปฝั่งหมู่บ้านมอญระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

รถยนต์
กรุงเทพฯ – อำเภอสังขละบุรี 360 กิโลเมตร
ตัวจังหวัดกาญจนบุรี – อำเภอสังขละบุรี 215 กิโลเมตร
อำเภอทองผาภูมิ – อำเภอสังขละบุรี 75 กิโลเมตร
ตัวอำเภอสังขละบุรี – สะพานมอญ 5 กิโลเมตร

จากตัวเมืองกาญจนบุรี วิ่งบนถนนแสงชูโตที่เป็นถนนสายหลัก ถึงสี่แยกแก่งเสี้ยน เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายอำเภอไทรโยค – ทองผาภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 323)

ก่อนเข้าตัวอำเภอทองผาภูมิ มีสามแยก เลี้ยวขวาไปทางอำเภอสังขละบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) ผ่านวัดท่าขนุน ป้อมปี่ อุทยานแห่งชาติเขาแหลม สะพานข้ามแม่น้ำรันตี

ก่อนเข้าตัวอำเภอสังขละบุรี มีทางแยก ตรงไปทางอำเภอสังขละบุรี (จะมีป้ายบอกเป็นทางไปวัดวังก์วิเวการาม) วิ่งผ่านตัวอำเภอสังขละบุรี ข้ามสะพานซองกาเลีย แล้วจึงจะมีป้ายบอกเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสะพานไม้ สุดซอยจะเป็นสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) สุดซอยซ้ายมือจะมีที่สำหรับจอดรถแบบเสียค่าจอด (ประมาณ 20 บาท)

รถประจำทาง
1.นั่งรถทัวร์ กรุงเทพฯ ด่านเจดีย์สามองค์ จากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 มี 4 เที่ยว คือ
รถปอ. 1   : เวลา 5.00 น. และ 6.00 น. ราคา 293 บาท
รถปอ. 2   : เวลา 9.30 น. และ 12.30 น. ราคา 228 บาท
รถทัวร์ขากลับ ด่านเจดีย์สามองค์ กรุงเทพฯ
รถปอ. 1   : เวลา 13.30 น. และ 14.30 น. ราคา 293 บาท
รถปอ. 2   : เวลา 7.00 น. และ 10.00 น. ราคา 228 บาท

** บอกคนขับว่าต้องการลงสังขละบุรี รถจะไปจอดให้ที่ตลาดสังขละ จากนั้นเดินต่อ หรือเหมารถไปสะพานมอญ

2.นั่งรถทัวร์ หรือรถตู้ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี จากสายใต้ หรือหมอชิต แล้วต่อรถที่ขนส่งกาญจนบุรี ไปสังขละบุรี จากนั้นเดินต่อ หรือเหมารถไปสะพานมอญ

ข้อมูลจากเว็บ   Kanchanaburi

เรียบเรียงโดย www.HotelAndResortThailand.com

สถานที่ท่องเที่ยวหลวงพระบาง

page1

หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าเมืองซวา (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอ ซึ่งถือเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเชียงทอง หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1

 

วัดเชียงทอง

ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า “วิหารแดง” ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964

 2

 วัดแสนสุขาราม

ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้นสร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสันสวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย

3

วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม

 4

พระราชวังหลวงพระบาง

ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบางซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิดรับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.

 5

วัดวิชุนราช

ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน “ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน” ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว

 6

 น้ำตกกวางสี

น้ำตกกวางสี หรือ ตาดกวางซี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพระบาง น้ำตกแห่งนี้อยู่นอกเมืองหลวงพระบางไปทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร สภาพทางเป็นถนนลาดยาง ทางคดเคี้ยวเล็กน้อย

ชื่อของน้ำตกกวางสี หมายถึง กวางหนุ่มที่เขาเพิ่งเริ่มงอก (ภาษาไทยเรียกกวางซีหรือกวางเขาซี) น้ำตกวางสีเป็นน้ำตกหินปูน สายน้ำทิ้งตัวจากหน้าผาสูงกว่า 70 เมตร สู่แอ่งน้ำกว้างเบื้องล่าง ทำให้เกิดละอองฝอยของไอน้ำพุ่งกระจายทั่วบริเวณ โดยบริเวณด้านล่างน้ำตกจะมีสะพานและเส้นทางให้เดินในชมมุมต่างๆ ตลอดจนมีที่นั่งให้ชมทิวทัศน์และพักผ่อนหย่อนใจ น้ำตกกวางสีมีน้ำไหลตลอดปี อากาศเย็นสบาย แต่ช่วงที่สวยที่สุดคือ ปลายฝนต้นหนาว เพราะน้ำจะใส ป่าจะเขียว อนุญาตให้เล่นน้ำได้เป็นบางจุดตามป้ายเตือนไว้เท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากใกล้ชิดน้ำตกก็มีทางเดินด้านข้างให้เลาะไปยังชั้นบน ซึ่งควรระมัดระวังในการเดินเพราะจะเป็นเส้นทางที่ลื่นชัน

6.1

น้ำตกกวางสีอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้การดูแลจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ การไปเที่ยวน้ำตกจะต้องผ่านด่านตรวจซึ่งปิดในเวลา 15.00 น. นักท่องเที่ยวจึงควรไปถึงก่อนเวลา น้ำตกกวางสีมักมีชาวหลวงพระบางนิยมไปเที่ยวกัน โดยเฉพาะในยามมีงานบุญหรือเทศกาล ตามเ้ส้นทางสู่น้ำตกกวางสี จะได้พบกับวิถีชีวิตอันแท้จริงของบรรดาชนเผ่าในลาว โดยเฉพาะหมู่บ้านลาวเทิง เช่น หมู่บ้านท่าแป้น บ้านตาด บ้านอู้

6.2

ส่วนบริเวณด้านหน้าทางเข้า นักท่องเที่ยวจะพบร้านอาหารตามสั่ง ร้านอาหารประเภทปิ้งปลา ปิ้งไก่ ส้มตำ และเหล้าเบียร์ให้บริการอยู่หลายร้าน นอกจากนี้ ยังมีร้านขายของที่ระลึกให้เลือกซื้อกลับไป ส่วนใหญ่เป็นของใช้ที่ทำจากไม้ไผ่หลายชนิด

การเดินทางไปน้ำตกกวางสี มีรถจัมโบ้ออกจากตลาดชาวเขาหรือตลาดม้ง ตรงสี่แยกกลางเมือง แต่หากไปกันน้อยคนจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารจะเต็ม รถจึงออก หรือมิฉะนั้นต้องเหมารถไป

7.1

น้ำตกตาดแซะ

น้ำตกตาดแซะเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตขนาดใหญ่ที่รายลอบไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้น้อยใหญ่ และด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ทำให้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ น้ำตกตาดแซะจะมีผู้คนทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวออกมาเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก

7.2

น้ำตกตาดแซะ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลาง ชั้นของน้ำตกไม่สูงมากนัก เปรียบได้กับแก่งน้ำในประเทศไทย โดยมีสายน้ำไหลอาบมาตามลานหินกว้างลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ ลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ เสมือนเป็นสระว่ายน้ำที่ธรรมชาติบรรจงสร้างขึ้นมาอย่างงดงาม โดยนักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าในบริเวณน้ำตกเพื่อมานั่งรับประทานอาหารได้ด้วย เพราะน้ำตกแห่งนี้มีเก้าอี้หินให้บริการตมบริเวณแอ่งน้ำรอบๆ น้ำตกให้พักผ่อนอัธยาศัยได้ทั้งวัน

7

การเดินทาง จากตัวเมืองหลวงพระบางสามารถเหมารถสามล้อหรือสี่ล้อเครื่องมาเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย โดยมาลงที่บ้านแอ่นริมน้ำคาน จากนั้นนั่งเรือรับจ้างของชาวบ้านล่องตามแม่น้ำคาน เข้าไปอีกประมาณ 15 นาที จะพบทางเข้าน้ำตก ซึ่งต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร จะพบน้ำตกตาดแซะ การเดินทางด้วยเรือไปตามแม่น้ำคานนี้ นับเป็นเสน่ห์สำคัญของการเที่ยวน้ำตกตาดแซะ

 8

ตลาดม้ง

เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่ เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยา “ถ้ำติ่ง” ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆมีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า “สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด” ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้ มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง

 9

ย่านบ้านเจ็ก “ย่านบ้านจีนเก่าสไตล์ยุโรป” 

ย่านบ้านเจ็กทอดตัวยาวอยู่ระหว่างถนนศรีสว่างวงศ์ เป็นย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง ที่เรียกว่าบ้านเจ็ก เนื่องจากว่า สมัยก่อนเป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของคนเชื้อสายจีน(เจ็ก) ตึกแถวในละแวกนี้มีลักษณะเป็นห้องแถวแบบจีน แต่ประดับตกแต่งลวดลายคล้ายแบบยุโรปจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ โดยผู้เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเมืองหลวงพระบางก็คือ เจ้าอุปราชบุญคง กล่าวได้ว่า สภาพผังเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน รวมทั้งอาคารที่ทำการของรัฐส่วนมากซึ่งก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมผสมยุโรปนั้น เกิดขึ้นในสมัยนั้น

ปัจจุบัน ตึกแถวสองข้างทางย่านบ้านเจ็กปรับปรุงเป็นร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านกินดื่ม และร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งแหล่งที่พักราคาย่อมเยาสำหรับนักเดินทางประเภทแบกเป้ด้วย ซึ่งส่วนมากอยู่ด้านหลังตึกแถวอาคารพาณิชย์ของบ้านเจ็ก บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งชุมนุมของนักท่องเที่ยวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน

10

เฮือนมรดกเชียงม่วน “บ้านไม้เก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบาง”

เฮือนมรดกเชียงม่วน เป็นอาคารอนุรักษ์ขององค์การยูเนสโก กล่่าวกันว่า ดั้งเดิมเป็นของพระยาหมื่นนา ขุนนางในราชสำนักล้านช้าง ในสมัยหนึ่งขุนนาง และคหบดีเมืองหลวงพระบางนิยมปลูกเรือนตึกแบบฝรั่ง ทำให้อาคารไม้แบบเดิมถูกรื้อไปมาก ที่เหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ก็เฉพาะเรือนหลังนี้เท่านั้น นับเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นมรดกโลกที่องค์การยูเนสโกได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างของบ้านลาวยุคโบราณ

 

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

 

 

ทุ่งทะเลหลวง เกาะกลางน้ำรูปหัวใจ จังหวัดสุโขทัย

ทะเลหลวง 5

ทะเลหลวง 1

ทะเลหลวง 4

     แผ่นดินรูปหัวใจ ทุ่งทะเลหลวง (แก้มลิง) ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย แผ่นดินมหัศจรรย์ เกิดจากแนวคิดโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และฝนแล้ง ใจกลางแผ่นดินแห่งนี้ได้สร้าง มนฑปทรงจตุรมุข ประดิษฐสถาน พระพุทธรัตนสิริสุโขทัย และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญประกอบพิธีทางศาสนาอีกด้วย

ทะเลหลวง7

ทะเลหลวง 6

ทะเลหลวง 3

ทะเลหลวง 2

 

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม จ.นครราชสีมา

Jim Thompson 2

จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม 2

ช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่นี้ หากใครยังไม่มีแผนไปเที่ยวไหนแวะมากันได้นะคะที่ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม

จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม

จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม 3

Jim Thompson farm 2

          จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปีละครั้งในเดือน ธันวาคมให้บุคคลทั่วไปที่หลงใหลในธรรมชาติได้ชื่นชม บรรยากาศอันงดงาม และเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการเกษตร พร้อมเรียนรู้วงจรชีวิตของหนอนไหม ชมแปลงพืชผักและดอกไม้สีสวยสดนานาชนิด รวมถึงเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับและผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษซึ่งปลูกด้วยความเอาใจใส่จากเหล่าเกษตรกรของจิม ทอมป์สัน ฟาร์ม

Jim Thompson farm 1

จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม 1

Jim Thompson 3

          เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2557 ถึง 11 มกราคม 2558 เวลา 9.00.ถึง 17.00. จิมทอมป์สัน ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-762-2566, 085-660-7336

 

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

การเดินทางสู่ประเทศลาว

1

จากประเทศไทยเราสามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวได้โดยผ่านพรมแดนจังหวัดเหล่านี้ค่ะ

2

1. จังหวัดเชียงราย (เชียงของ – ห้วยทราย)
2. จังหวัดหนองคาย (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – นครหลวงเวียงจันทน์)
3. จังหวัดนครพนม – ท่าแขก
4. จังหวัดมุกดาหาร – สะหวันนะเขต
5. จังหวัดอุบลราชธานี (ด่านช่องเม็ก – วังเต่า)

 

เอกสารที่ควรเตรียมพกติดตัวไปด้วยค่ะ

1. หนังสือเดินทาง (Passport) นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้า- ออกประเทศลาวได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า และสามารถอยู่ในลาวได้ไม่เกิน 30 วัน
2. บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border pass) สามารถเดินทางเข้าประเทศลาวได้แค่ในเขตเวียงจันทน์เท่านั้นและอยู่ได้ครั้งละ 3 วัน 2 คืน

 3

เอกสารที่ต้องเตรียมหากใช้บริการบัตรผ่านแดนชั่วคราว
-.สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ใบ
-เด็ก ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
-รูปถ่ายขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ

*** สามารถยื่นขอหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศและขอรับการแปลใบอนุญาตขับรถเป็นภาษาอังกฤษ ได้ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคาย ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย โทร. 0-4242-1473

 

*** หมายเหตุ
1.การนำรถเข้าไปใน สปป.ลาวนั้น จะอยู่ในประเทศลาวไม่เกินกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาต
2.การเดินทางข้ามพรมแดนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการตรวจคนเข้าเมืองและกฎหมายศุลกากร
3.การนำรถเข้าไปยัง ลาว จะต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่สาม (ของลาว)

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

กองกำกับการด่านตรวจคนเข้าเมืองหนองคาย โทร.0-4242-0242
จุดตรวจสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ขาเข้า โทร. 0-4242-0243
จุดตรวจสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ขาออก โทร. 0-4242-0244
จุดตรวจท่าเสด็จ โทร. 0-4241-1154
หมวดงานบริการ โทร. 0-4241-2089

 

การเดินทาง

  • เครื่องบิน

จากกรุงเทพมหานครมีสายการบิน ลาวแอร์ และบางกอกแอร์เวย์บินตรงสู่สนามบินวัดไต เวียงจันทร์

หรือเลือกนั่งเครื่องบินสู่อุดรธานี แล้วต่อรถโดยสารปรับอากาศผ่านสะพานไทย-ลาว เข้าไปยังเมือง เวียงจันทน์ ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง

  • รถบัสโดยสาร

จากกรุงเทพมหานครไปเวียงจันทน์ สามารถเดินทางโดยรถทัวร์ไปลงได้หลายจังหวัดดังนี้ หนองคาย อุดร หรือขอนแก่น จากนั้นต่อรถไปยังเวียงจันทน์

ขั้นตอนการจัดทำเอกสารเพื่อนำรถออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการท่องเที่ยว

  • ขับรถส่วนตัวเที่ยวลาว

1. พาสปอร์ตรถ (เล่มสีม่วงดังตัวอย่าง) ซึ่งสามารถขอทำได้ที่ แผนกทะเบียนฯ กรมการขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด

1

กรุงเทพหน้าสวนจตุจักร ราคาเล่มละ 50 บาท การต่ออายุจะเป็นแบบปีต่อปี ค่าต่ออายุเล่มละ 25 บาท

 

2. ใบขับขี่แบบใหม่ บัตรแข็ง Smart Card ซึ่งสามารถใช้เป็นใบขับขี่ได้ตามปกติ

ใบขับขี่แบบใหม่ บัตรแข็ง  2

และยังใช้ขับขี่ระหว่างประเทศในอาเซียน 10 ประเทศได้อีกด้วย ขั้นตอนการขอก็ไม่ยาก

คุณสามารถนำใบอนุญาตขับขี่เดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปยื่นความจำนงขอเปลี่ยนเป็นบัตรแบบแข็ง

 

3. ใบขับขี่สากล (คนละอันกับใบขับขี่แบบใหม่นะครับอย่าสับสน)

ใบขับขี่สากล 3

การทำใบขับขี่สากลนั้นสามารถยื่นเรื่องติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบกจังหวัดเช่นเดียวกันและใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ก็ได้รับเล่มเรียบร้อย ราคาค่าธรรมเนียม 505 บาท ต่ออายุปีต่อปี เช่นเดียวกับพาสปอร์ตรถ

 

4. ป้ายทะเบียนรถระหว่างประเทศ อันนี้ก็เป็นระเบียบใหม่ที่เพิ่งออกมาเช่นเดียวกับใบขับขี่แบบ Smart  Card

ทะเบียน

เพื่อใช้สำหรับรถที่เดินทางออกจากประเทศเพื่อจะไปยังประเทศ ลาว เวียดนาม กัมพูชา

การยื่นขอป้ายทะเบียนระหว่างประเทศนั้นสามารถยื่นเรื่องขอทำได้ที่แผนกทะเบียนฯ

 

5. ใบขนส่งสินค้าพิเศษ เมื่อมาถึงด่าน ตม. สะพานมิตรภาพไทย – ลาว คุณต้องมากรอกเอกสารที่เค้าเรียกว่า ใบขนส่งสินค้าพิเศษ (เป็นชื่อแบบฟอร์มของ ตม.) และ ใบรายละเอียดของพาหนะ

ซึ่งขั้นตอนนี้คุณก็กรอกลงไปเกี่ยวกับข้อมูลของคุณ+จำนวนผู้ติดตามในรถ

และรายละเอียดของรถที่คุณจะนำออกนอกประเทศ จากนั้นต้องเก็บไว้ให้ดี เพราะ ด่าน ตม. จะเอาคืนเวลาคุณกลับเข้าประเทศ (ป้องกันการขโมยรถออกนอกประเทศเช่นเดียวกัน) เมื่อเสร็จขั้นตอนต่างๆ แล้วเจ้าหน้าประทับตราขาออกก็เท่ากับว่าขั้นตอนทางฝั่งไทยเรียบร้อย

 ** ขั้นตอนที่ว่าทั้งหมดนี้ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น

6. ตัวอย่างใบรายละเอียดของยานพาหนะ หน้าตาประมาณนี้ เมื่อเอกสาร 2 ตัวนี้เรียบร้อยก็ออกรถข้ามสะพานได้เลย

5

จากนั้นเมื่อมาถึงด่าน ตม.ของลาว คุณจะต้องทำเอกสาร 2 ส่วนคือ

 

7. ใบติดตามพาหนะเข้าชั่วคราว 

ใบติดตามพาหนะเข้าชั่วคราว6

 8. ประกันภัย ซึ่งคุณสามารถกรอกเป็นภาษาไทยได้ส่วน หัวด้านซ้ายตัดเพื่อติดหน้ากระจกรถคุณ

ประกันภัย 7

9. ตัวอย่างใบค่าธรรมเนียมภาษีติดตามพาหนะชั่วคราว (ฝั่งลาว)

ตัวอย่างใบค่าธรรมเนียมภาษี8

10. ตัวอย่างใบประกันภัยของบริษัทประกันภัยลาว

ตัวอย่างใบประกันภัยของบริษัทประกันภัยลาว9

11. ตัวอย่างใบค่าธรรมเนียมนำพาหนะผ่านด่านเข้าเมือง (ฝั่งลาว)

 

สรุปค่าใช้จ่าย

– ฝั่งไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น

– ฝั่งลาว ค่าธรรมเนียมประกันภัยรถคุณ ราคาแตกต่างกันแล้วแต่จำนวนวันที่คุณมา

(ในตัวอย่าง 7 วัน) ประมาณ 60000 กีบ (240 บาทโดยประมาณ)

ค่าธรรมเนียม (รถ+คน) ผ่านด่านเข้าเมือง คนละ 200 บาท

(อันนี้คิดผู้ติดตามในรถทุกคน ยกเว้นคนขับไม่เสีย) เช่น พ่อ-แม่-ลูก พ่อคนขับไม่เสีย แม่-ลูก รวม 2 คน 400 บาทเป็นต้น

ค่าธรรมเนียมที่ใช้พาสปอร์ตในการเข้าเมืองอีก คนละ 10 บาท

เพียงเท่านี้ก็ไม่ยากเกินไปใช้ไหมครับสำหรับการนำรถเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน

ขอให้ทุกคนท่องเที่ยวอย่างมีความสุขครับ ที่สำคัญเมาไม่ขับนะครับเพราะที่ประเทศสปป.ลาว

เดี๋ยวนี้เค้าก็มีการตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์แล้วเช่นเดียวกัน

 

แหล่งข้อมูลจากเว็บ 

http://travel.mthai.com

http://louangprabang.net

 

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

 

 

วังเวียง ประเทศลาว

สัมผัสมนต์เสน่ห์เมืองแห่งขุนเขา ใช้ชีวิตให้ช้าลงที่วังเวียง ประเทศลาว วังเวียง เมืองแห่งขุนเขา สายน้ำ และไร่นาแบบขั้นบรรได อีกหนึ่งจุดหมายที่พลาดไม่ได้ในการเดินทางท่องเที่ยวมายังประเทศลาว พบกับทัศนียถาพงดงามตระการตาของทิวเขาที่สลับซับซ้อนเรียงรายโอบล้อมเมืองจนได้รับการขนานนามว่ากุ้ยหลินเมืองลาย ประทับใจไปกับทุ่งข้าวเขียวขจี และแม่น้ำซองอันมีเสน่ห์ สัมผัสวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาววังเวียงและหมู่บ้านชนพื้นเมืองหลากเผ่า

1

ตัวเมืองวังเวียง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซอง ห่างจากเมืองหลวงกรุงเวียงจันทน์ 154 กิโลเมตรและห่างจากเมืองหลวงพระบาง 210 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มองเห็นสายน้ำซองกว้างสลับเนินทรายโดยมีเทือกเขาหินปูนเป็นฉากหลัง นับเป็นภาพอันงดงามน่าประทับใจยิ่งนัก

สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมในวังเวียง

 

พายเรือคายักล่องแม่น้ำซอง

1.1

จุดเด่น กิจกรรมยอดนิยมที่คุณเองไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนวังเวียงคือ การพายเรือคายักชมความสวยงามของสายน้ำซอง จุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณผาตั้ง ล่องเรือ ผ่านเวียงสมัยไปจนถึงเมืองวังเวียงมาขึ้นที่บริเวณถาวรสุข บังกะโล ใช้เวลา 6 ชั่วโมงระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เริ่มต้นจากบริเวณผาตั้ง เป็นภูเขาหินปูนตั้งเด่นกลางทุ่งนา สูงประมาณ 800 เมตร ลักษณะคล้ายกระโดงปลาฉลาม มีหน้าผาตัดเรียบ 1 ด้าน จากผาตั้งนี้เองที่ไกด์นำทางจะสาธิตการพายคายักให้ถูกวิธี พร้อมทั้งสอนการช่วยเหลือตนเองในขณะที่เรือพลิกคว่ำ การวอร์มอัพก่อนลงเรือ และบอกจุดแวะพักต่างๆ จากนั้นก็เริ่มลงเรือล่องสายน้ำซองในช่วงแรก เป็นช่วงที่น้ำไหลไม่แรงและไม่ยากจนเกินไปเหมาะเป็นจุดวอร์มการบังคับไปในตัว ล่องต่อไปจนถึงบริเวณถ้ำช้างเพื่อแวะพักรับประทานอาหารกลางวันและยังสามารถเที่ยวชมถ้ำใกล้เคียงโดยไม่ต้องเสียค่าอาหารและค่าเข้าชม เพราะทางไกด์เตรียมไว้ให้เรียบร้อยแล้ว การมาพายคายักล่องแม่น้ำซองจึงเป็นกิจกรรมแบบ 2 อิน 1 ที่คุณเองจะได้สนุกสนานกับการพายเรือและแวะเที่ยวชมถ้ำไปด้วย หลังจากใช้เวลาช่วงนี้ประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ได้เวลาออกเดินทางต่อ เส้นทางของสายน้ำช่วงนี้เริ่มทวีความรุนแรงมีแก่งเล็กแก่งน้อยออกมาให้ท้าทายฝีมือกัน นอกจากจะสนุกสนานกับสายน้ำแล้วยังได้ชมความสวยงามของทิวทัศน์สองฟากฝั่งเป็นของแถม จากจุดแวะพักบริเวณถ้ำช้างมาถึงจุดแวะพักช่วงที่สองเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร มาถึงจุดแวะพัก ถ้ำนอน เป็นจุดที่คุณเองจะได้สนุกสนานกับชิงช้าลอยฟ้า เป็นชิงช้าที่อาศัยการดึงเชือกขื้นไปให้สูงตามความต้องการของผู้ที่ขึ้นไป จากนั้นก็แล้วแต่ลีลากระโดดน้ำซองแต่ละคน ที่จะเรียกเสียงโห่ร้องหรือเสียงปรบมือจากผู้ชมได้มากน้อยแค่ไหนนับเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมกันมากที่สุด นอกจากนี้บริเวณถ้ำนอนยังมีร้านขายเครื่องดื่มไว้คอยให้บริการ หลังจากสนุกสนานกันเต็มที่แล้ว ก็ถึงเวลาพายเรือกลับวังเวียง จากจุดแวะพักถ้ำนอนจะเหลือระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ช่วงนี้สายน้ำยังคงมีแก่งและน้ำไหลแรงในบางช่วงไปจนถึงตัวเมืองวังเวียง สายน้ำก็จะเรียบสงบคุณจะได้ชมธรรมชาติสองฟากฝั่งของแม่น้ำซองที่สวยงามเป็นการปิดท้าย จนกระทั่งไปถึงจุดสุดท้ายที่ถาวรสุข บังกะโล บริษัททัวร์จะมีรถมารับเรือคายัก จะเลือกเดินกลับหรือติดรถกลับไปด้วยก็ได้ การพายคายักล่องแม่น้ำซองจึงเป็นกิจกรรมสำหรับคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกายไปพร้อมชมความงดงามของขุนเขา สายหมอก และวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวบ้าน

 

ล่องห่วงยาง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

จุดเด่น หลังจากที่สนุกสนานกับการพายเรือคายักล่องแม่น้ำซองแล้ว อีกกิจกรรมที่คุณเองไม่ควรพลาดคือ กิจกรรมล่องห่วงยาง เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติชื่นชอบกันมากเพราะมีเพียงห่วงยางอันเดียวก็ไปสนุกกับสายน้ำซองได้แล้วกิจกรรมล่องห่วงยางมีต้นกำเนิดมาจากเด็กๆ ชาววังเวียงที่ชอบนำห่วงยางรถออกมาเล่นที่แม่น้ำ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาพบเข้าจึงเกิดความคิดสนุกๆ ลองนำห่วงยางไปล่องตามกระแสน้ำบ้าง จากนั้นจึงบอกต่อๆ กันไป จนกลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมจนถึงปัจจุบัน การล่องห่วงยางจะเริ่มต้นบริเวณร้านอาหารออร์แกนนิกฟาร์มระยะทางห่างจากตัวเมืองวังเวียงประมาณ 4 กิโลเมตร คุณสามารถเลือกใช้บริการจากเคาน์เตอร์ทัวร์ในเมืองวังเวียงมีรถไปส่งที่จุดเริ่มต้นเพียงอย่างเดียวขากลับต้องนำห่วงยางกลับมาคืนเอง เพราะกิจกรรมนี้ไม่มีไกด์นำทาง กิจรรมล่องห่วงยางเป็นกิจรรมสั้นๆ ที่ใช้เวลาไม่นานแต่ได้อารมณ์ความสนุกเหมือนย้อนเวลากลับไปตอนเป็นเด็กอีกครั้ง จะเลือกล่องคนเดียวนอนลอยคออยู่บนห่วงยางปล่อยอารมณ์ไปตามสายน้ำพร้อมชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำซอง หรือจะสนุกสนานกับหมู่เพื่อนฝูงก็ได้ กิจกรรมล่องห่วงยางมีจุดแวะพักเพียงแห่งเดียวคือ บริเวณถ้ำนอน จุดเดียวกับกิจกรรมพายคายักที่คุณจะได้สนุกสนานไปกับชิงช้าลอยฟ้าหรือจะแวะพักเหนื่อยสั่งเครื่องดื่มเย็นๆ มานั่งพูดคุยกับเพื่อนร่วมทางแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็นับว่าน่าสนใจ จากจุดนี้ก็ตรงสู่ตัวเมืองวังเวียงเหมือนกิจกรรมพายคายัก โดยจะขื้นที่บริเวณท่าเรือถาวรสุข บังกะโล หรือขื้นก่อนจะถึงก็ได้หากไม่อยากเดินไกลเพียงแต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการขึ้นเล็กน้อย

 

ล่องเรือชมธรรมชาติบนเขื่อนน้ำงึม

3.1

ที่ตั้ง: บ้านท่าเรือบริเวณตลาดท่าเรือ ห่างจากวังเวียงประมาณ 30 กิโลเมตร

จุดเด่น นอกจากกิจกรรมล่องแม่น้ำซองบริเวณเมืองวังเวียงแล้ว ก่อนถึงตัวเมืองวังเวียงยังสามารถแวะเที่ยวตลาดท่าเรือ เพื่อล่องเรือหางยาวไปเที่ยวชมธรรมชาติบนเขื่อนน้ำงึมได้ เมื่อคุณเดินทางมาถึงตลาดควรสอบถามหาเรือจากชาวบ้านละแวกนั้น หรือจะติดต่อบริษัททัวร์ที่ตัวเมืองวังเวียงเพื่อความสะดวก มีไกด์คอยนำทาง จากท่าเรือใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงมาถึงหมู่บ้านผากุบ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนดอนกลางเขื่อนน้ำงึม ตลอดเส้นทางคุณจะได้ชมทิวทัศน์ของดอนหรือเกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย บางดอนเป็นพื้นที่ของชาวบ้านนำวัวมาเลี้ยง บางดอนเป็นไร่นาของชาวม้ง ซึ่งใช้วิธีการปลูกแบบธรรมชาติไม่เหมือนนาดินบนที่ราบ นอกจากนี้จะพบซุ้มเล็กๆ กลางน้ำ สังเกตเห็นได้ตลอดทาง เป็นอุปกรณ์ที่ชาวประมงบ้านผากุบใช้ตั้งไฟเพื่อล่อปลาแก้วให้เข้ามาติดแหในยามค่ำคืน ภายในหมู่บ้านผากุบมีประชากรประมาณ 40 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ใช้ไฟปั่นและแผงโซล่าเซล มีโรงเรียนประถมตั้งอยู่แห่งหนึ่ง เด็กๆ บนเกาะนี้เมื่อเรียนจบแล้วจะขึ้นไปเรียนต่อบนฝั่ง เมื่อคุณมาถึงบ้านผากุบแล้วจะเลือกตกปลาในเขื่อน สนุกสนานกับการเล่นน้ำหรือเดินชมวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวบ้านก็ได้ตามสะดวก นอกจากนี้ยังสามารถมาค้างคืนแบบนำเต็นท์มาเองหรือพักแบบโฮมสเตย์กับชาวบ้านได้อีกด้วย เพียงแค่เตรียมข้าวของ อาหาร น้ำดื่ม มาให้พร้อมเท่านั้นเอง

 

ถ้ำจัง

4

ที่ตั้ง: ภายในถ้ำจังรีสอร์ท ห่างจากสนามบินเก่าประมาณ 500 เมตร เวลาเปิด 08.00-17.00 น.

จุดเด่น  มาเที่ยววังเวียงนอกจากจะได้สนุกสนานกับกิจกรรมทางน้ำหลากสไตล์แล้ว วังเวียงเองก็มีถ้ำหลายแห่งที่ไม่ควรพลาดชมเช่นกัน เริ่มต้นที่ถ้ำจัง ในอดีตเป็นถ้ำที่ไม่มีไฟฟ้าเพราะชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์หากใครไปทำสิ่งไม่ดีงามภายในถ้ำจะเกิดอาการจังงัง มือเท้าหงิกงอเหมือนเป็นง่อย แต่ภาษาลาว เรียกว่าอาการจัง ชาวบ้านจึงเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำจัง

4.2

 ถ้ำจังนับเป็นถ้ำที่สวยงามที่สุดในเมืองวังเวียงเพราะเป็นถ้ำเพียงแห่งเดียวที่มีไฟติดตั้งอยู่ภายใน คุณสามารนำรถมาจอดบริเวณถ้ำจังรีสอร์ท จากจุดนี้จะพบสะพานข้ามแม่น้ำซองสีส้มสดใสเหมือนสะพานข้ามแม่น้ำที่บ้านผาเทา ทางไปหมู่บ้านลับแลแต่มีความสวยงามกว่า สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของสายน้ำซอง นักท่องเที่ยวนิยมแวะถ่าพภาพเก็บเป็นที่ระลึกกัน เมื่อข้ามสะพานไปประมาณ 100 เมตรจะพบลำน้ำเล็กๆ สีเขียวมรกตไหลออกมาจากใต้ภูเขาไปนรรจบกับแม่น้ำชซอง เหมาะสำหรับเดินเล่นชมธรรมชาติ ด้านในสุดยังมีพระใหญ่ให้กราบไหว้ การขึ้นไปถ้ำจังด้านบน จะต้องเดินขึ้นบันได 147 ขั้น จะถืงปากทางเข้าถ้ำจัง บริเวณนี้ยังเป็น

จุดชมวิวที่มองเห็นแม่น้ำซอง ขุนเขา และตัวเมืองวังเวียงได้ย่างสวยงาม นับเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดของเมืองวังเวียงอีกด้วย ภายในถ้ำจังมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากมาย สามารถเดินชมได้สะดวกสบายเพราะมีไฟสว่างเพียงพอ พร้อมด้วยทางเดินอย่างดี หากเดินไปทางซ้ายจะพบจุดชมวิวเป็นช่องเขาริมหน้าผา สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามไม่แพ้ปากทางเข้า ส่วนทางเดินขวามือจะพบหินรูปร่างแปลกตาต่างๆ มากมายจนไปสุดที่ทางตันไม่สามารถเดินเข้าไปได้อีก

 

ถ้ำช้าง

5

ที่ตั้ง: เส้นทางหลวงหมายเลข 13 เหนือ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 169

จุดเด่น หากคุณต้องการเดินทางมายังถ้ำช้างสามารถหารถ 3 ล้อจากในตัวเมืองวังเวียง ราคาต่อรองกันได้ แต่ถ้ารู้ที่ตั้งและมีแผนที่จะเลือกขี่จักรยานก็สะดวกเช่นกัน เริ่มจากตัวเมืองวังเวียงไปตามทางหลวงหมายเลข 13 เหนือขึ้นไปทางทิศเหนือในเส้นทางสู่หลวงพระบาง เมื่อถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 169 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะพบสายน้ำซอง จากนั้นจะต้องนั่งเรือข้ามฟากไปบริเวณหมู่บ้านถ้ำช้าง เมื่อข้ามฟาก บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านถ้ำช้าง ที่มาของชื่อมาจากถ้ำช้างที่อยู่บริเวณท่าเรือ ถ้ำช้างหรือถ้ำชางนับเป็นถ้ำแรกที่คุณจะได้พบ ภายใน เป็นที่ตั้งของพระธาตุที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2511 และหินธรรมชาติที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายช้างตั้งเด่นอยู่ด้านขวาของถ้ำเป็นที่มาของชื่อถ้ำและหมู่บ้าน ทุกปีในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ บริเวณถ้ำช้างจะเป็นที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ร้านค้าและวงดนตรีจะมาตั้งร้านค้าขาย ร้องรำกันอย่างสนุกสนาน

 

ถ้ำหอย

6

ที่ตั้ง: บ้านถ้ำช้าง อยู่ห่างจากถ้ำช้างประมาณ 1 กิโลเมตร

จุดเด่น หลังจากชมถ้ำช้างแล้วคุณยังสามารถเดินทางไปชมถ้ำใกล้เคียงได้อีก 3 ถ้ำ ตั้งแต่ ถ้ำหอย ถ้ำหลุบ และถ้ำน้ำ จากถ้ำช้างต้องเดินผ่านทุ่งนาของชาวบ้านเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร แต่สามารถชมได้ถึง 3 ถ้ำ เดินตรงเข้าไปด้านขวามือจะพบ ถ้ำหอย ด้านหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่สังเกตเห็นได้ง่าย ชาวลาวเชื่อกันว่าถ้ำทุกถ้ำจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครอง ที่มาของชื่อถ้ำหอย มาจากลักษณะภายในของถ้ำที่คดเคี้ยวเหมือนหอยและยังเป็นถ้ำที่เดินค่อนข้างลำบากเนื่องจากมีน้ำขัง ภายในเป็นถ้ำมีดไม่มีไฟฟ้า คุณควรพกไฟฉายเข้าไปด้วย ถ้ำหอยมีความยาวประมาณ 1,400 เมตร ถูกสำรวจโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส เหมาะแก่การเดินชมประมาณ 750 เมตร เท่านั้น เพราะหลังจากนี้จะพบแอ่งน้ำไม่สามารถเดินต่อไปได้

 

ผาตั้ง

7

ที่ตั้ง: ห่างจากเมืองวังเวียงประมาณ 20 กิโลเมตรบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 170

จุดเด่น  ผาตั้งเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของกิจกรรมพายเรือคายักในสายน้ำซอง ทุกๆ เช้าบริเวณนี้จะมีนักท่องเที่ยวมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทาง ผาตั้งมีลักษณะเป็นภูเขาโดดเดี่ยวท่ามกลางทุ่งนาสีเขียว มีหน้าตัดอยู่หนึ่งด้านหากมองไกลๆ จะคล้ายกระโดงปลาฉลาม สูงประมาณ 800 เมตร หากสังเกตบนยอดเขาจะพบหินรูปร่างคล้ายม้า ชาวบ้านในอดีตเชื่อกันว่าเป็นม้าศักดิ์สิทธิ์ มักจะบินลงมากินข้าวที่ชาวนาปลูกอยู่เสมอ ชาวบ้านจึงไม่นิยมปลูกข้าวบริเวณผาตั้งกัน แต่ปัจจุบันความเชื่อเหล่านั้นได้จางหายไปแล้ว แต่ในบางตำนานเล่าว่า หินบนยอดเป็นรูปสุนัขของชายผู้หนึ่ง ที่อาสายกเขาผาตั้งเพื่อกั้นน้ำไหลหลากไม่ให้มาท่วมเมืองวังเวียง แต่ไม่สามารถต้านทานได้นาน จึงถูกผาตั้งหล่นลงมาทับตายทั้งผู้เป็นเจ้าของและสุนัข เรื่องเล่าทั้งสองจึงเป็นเรื่องสนุกสนานที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับผาตั้งและเมืองวังเวียง ใครมาพบก็มักแวะลงมาถ่ายภาพทิวทัศน์และมองดูหินประหลาดที่ว่านี้เสมอ

 

ถ้ำปูคำ

8

ที่ตั้ง: บ้านนาทอง ห่างจากตัวเมืองวังเวียงประมาณ 6 กิโลเมตร

จุดเด่น ถ้ำปูคำเป็นอีกถ้ำหนึ่งที่นักท่องเทียวนิยมเดินทางเข้าไปชมกัน จุดเริ่มต้นอยู่ที่เมืองวังเวียง คุณต้องนั่งเรือหางยาวข้ามฟาก บริเวณถาวรสุข บังกะโล จากนั้นต้องต่อรถไถนาเข้าไป ราคาค่าโดยสารต้องต่อรองกับคนขับรถส่วนใหญ่จะรวมราคาไปและกลับเอาไว้แล้ว จากนั้นจะมาสุดทางที่สะพานข้ามแม่น้ำ เมื่อข้ามไปแล้วต้องนั่งรถไถนาเข้าไปอีก ในเรื่องของราคาต้องต่อรองกันเหมือนเดิม เส้นทางต่อจากนี้เป็นระยะทางไม่ไกลมากนักประมาณ 2 กิโลเมตร จะผ่านหมู่บ้านนาทอง และไปสุดทางที่สายน้ำกา จากนั้นเดินเข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร จะพบด่านเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมถ้ำ นักท่องเที่ยวต่างชาติคนละ 5,000 กีบต่อคน เมื่อเดินเข้าไปจะพบสายน้ำที่เรียกกันว่า บลูลากูน เป็นบ่อน้ำสีเขียวมรกต น้ำใสเย็นสบายสามารถโดดน้ำเล่นได้ เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวต่างชาติ บริเวณนี้ยังมีที่นั่งพัก ห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและร้านขายของคอยให้บริการ จากบริเวณบลูลากูน หากจะเดินทางไปถ้ำปูคำ ต้องเดินขึ้นเขาไปประมาณ 3 กิโลเมตร ควรใช้ความระมัดระวังในการปีนเพราะทางชันและลื่น ภายในถ้ำปูคำเป็นถ้ำตายไม่มีไฟฟ้าติดตั้งไว้ แต่มีแสงสว่าง จากช่องเขาด้านข้างคล้ายหน้าต่างส่องเข้ามาภายในถ้ำพอดี ลักษณะเป็นถ้ำวงกลม โปร่งสูง ลึกประมาณ 50 เมตร ไม่มีหินงอกหินย้อย มีเพียงพระนอนประดิษฐานตั้งอยู่ในกลางถ้ำ ซึ่งตรงกับช่องแสงที่สาดส่องเข้ามา จึงเรียกขานถ้ำแห่งนี้ว่า ถ้ำปูคำ แต่ปัจจุบันไม่มีให้พบเห็นแล้ว

 

ถ้ำน้ำ

9

ที่ตั้ง: บ้านถ้ำช้าง ห่างจากถ้ำหลุบและถ้ำช้างประมาณ 1 กิโลเมตร

จุดเด่น จากบริเวณถ้ำช้างมี 2 เส้นทางให้คุณเลือก หากอยากชมถ้ำหอยและถ้ำหลุบให้ไปทางด้านขวามือจากถ้ำช้าง  แต่หากจะลัดไปถ้ำน้ำเลย สามารถใช้เส้นทางซ้ายมือผ่านหมู่บ้านถ้ำช้างมีป้ายบอกตลอดทาง ถ้ำน้ำเป็นถ้ำที่ต้องใช้ห่วงยางและเกาะเชือกล่องเข้าไปโดยมีไกด์ส่องไฟนำทาง ภายในเป็นอุโมงค์สูงเหมือนถ้ำอื่นๆ  จึงปลอดโปร่ง หายใจสะดวก เมื่อเข้าประมาณ 4 กิโลเมตรจะพบทางแยกซ้ายและขวา หากไปทางซ้ายจะไปพบทางออกบริเวณถ้ำเมืองซางที่เมืองลับแลเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เส้นทางนี้ไกด์ไม่นิยมให้ไปเพราะอันตราย หากเลี้ยวไปทางขวาจะพบพื้นเดินเล็กๆ ให้นั่งพัก และสามารถเดินทางต่อไปยังถ้ำหอยบริเวณแอ่งน้ำได้อีกด้วย หากไม่อยากเข้าไปบริเวณด้านหน้าถ้ำมีแอ่งน้ำสีเขียวมรกตขนาดเล็กให้เล่นน้ำ เหมาะสำหรับช่วงฤดูร้อนเพราะระดับน้ำไม่ลึกเย็นสบาย ลอดถ้ำได้สะดวกกว่า การเดินทางมาเที่ยวถ้ำน้ำ นักท่องเที่ยวจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้นค่าเช่าห่วงยาง

 

ผจญภัยแบบปีนป่าย

10

ที่ตั้ง: ทางตอนเหนือของเมืองวังเวียง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตรบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 166

จุดเด่น โปรแกรมการเดินป่า ขึ้นเขาไปยังเมืองลับแลนับเป็นกิจกรรมแบบ One day tour ที่นักผจญภัยหลายคนชื่นชอบเมื่อได้มาเยือนวังเวียง เมืองลับแล ในอดีตเคยเป็นถิ่นฐานของชาวม้งมาช้านาน ต่อมาเมื่อเมืองวังเวียงเริ่มเจริญขื้นชาวม้งจืงย้ายออกมาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณผาเทาเพราะสะดวกสะบายในการนำของป่าไปขายในเมืองวังเวียง ประกอบกับรัฐบาลลาวได้ให้พื้นที่ในการปลูกข้าวเหนียว ชาวม้งในปัจจุบันจืงมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากเมืองวังเวียงใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 13 ขื้นทางเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร คุณจะพบ สะพานบ้านผาเทา สะพานเหล็กที่สร้างจากเงินทุนของสหประชาชาติเพื่อช่วยเหลือชาวม้ง ใกล้ๆ สะพานจะพบชุมชนชาวม้งอาศัยอยู่มาก และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านลับแลอีกด้วย เมืองลับแลสมญานามนี้มาจากการเดินทางเข้าไปที่ยากลำบากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันเปรียบเสมือนทะเลภูเขา มีที่ราบลุ่มเล็กน้อยตั้งอยู่ใจกลาง ชาววังเวียงจึงต่างพากันเรียกดินแดนที่ลึกลับแห่งนี้ว่า เมืองลับแล

จากบริเวณโรงเรียนปลายตีนผา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่เมืองลับแล ระยะทางแรกเป็นเส้นทางที่ยังไม่ลำบากมากนัก แต่ควรใช้ความระมัดระวังหากไปในช่วงฤดูฝนเพราะหินจะลื่นเป็นอันตราย เมื่อเดินขื้นไปประมาณ 20 นาที จะได้พบถ้ำห็ก ถือเป็นจุดพักเหนื่อยจุดแรกของการเดินทาง ถ้ำห็กเป็นถ้ำที่ชาวม้งใช้สำหรับพักแรม และดักจับเจียหรือค้างคาว ชื่อถ้ำห็กมาจากคำว่ารก ภายในถ้ำมืดสนิทอากาศเย็นสบาย มีหินหลากหลายลักษณะให้ชื่นชม และหากเดินเข้าไปในถ้ำประมาณ 4 เมตร และมองย้อนกลับมาที่ปากถ้ำจะเห็นหินรูปร่างคล้ายคนยืนคู่กันเป็นเงาดำ คุณจึงควรนำไฟฉายพกติดตัวมาด้วย

SAMSUNG DIGITAL CAMERA

ถัดจากถ้ำห็กเดินต่อไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง จะถึงยอดเขาผาเทา จุดชมวิวของเมืองลับแล ที่มองออกไปเห็นผืนหญ้าสีเขียวขจีเบื้องล่าง ถูกโอบล้อมด้วยทิวเขาและสายหมอก เสมือนเป็นรางวัลจากธรรมชาติให้คุณได้ลืมความเหนื่อยล้า บริเวนนี้นับเป็นจุดพักแห่งที่สอง เมื่อเต็มอิ่มกับบรรยากาศแล้ว หลังจากนี้เป็นทางเดินลงเขาไปเมืองลับแลด้านล่างทางเดินช่วงนี้ควรใช้ความระมัดระวังเช่นกัน เพราะเส้นทางค่อนข้างลื่นและชัน เมื่อลงมาถึงด้านล่างเป็นอันสิ้นสุดจุดหมายปลายทางยังเมืองลับแล ปัจจุบันที่ราบบริเวณนี้ไม่มีบ้านเรือนของชาวม้งหลงเหลืออยู่ เป็นเพียงไร่ข้าวโพดที่ชาวม้งปลูกเพื่อนำไปขายในเมืองวังเวียงเท่านั้น จากจุดนี้เหมาะเป็นจุดแวะพักผ่อนและรับประทานอาหารเที่ยงแบบปิกนิกพร้อมชมบรรยากาศรอบด้าน หากโชคดีจะพบนกสาลิกา นกหาดูยากที่ชอบอาศัยอยู่ในโพรงถ้ำตามต้นไม้สูง และต้น ปอสก  ต้นไม้ที่ชาวม้งนำเปลือกมาทำกระดาษเพื่อสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขายนักท่องเที่ยว

12

บริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของ วารีบำบัด คือสายน้ำซางที่ไหลมาจากทิศตะวันตกและไปออกสู่สายน้ำซอง ระดับน้ำไม่ลึก ใสสะอาด เย็นสบาย เหมาะแก่การเล่นน้ำคลายความเหน็ดเหนื่อยหลังจากเดินทางมาไกล ชาวม้งจึงเรียกการแช่น้ำที่สายน้ำแห่งนี้ว่า วารีบำบัด จากจุดนี้ควรใช้เวลาหยุดพักไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อคุณจะได้เดินทางกลับอย่างไม่เร่งรีบ เส้นทางจากเมืองลับแลสู่ผาเทาจะไม่กลับเส้นทางเดิม ตลอดทางเส้นใหม่เป็นการเดินขื้นเขาลงเขา ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง เมื่อลงมาถึงด้านล่างจะต้องผ่าน หมู่บ้านถ้ำช้าง บริเวณนี้มีร้านขายน้ำดื่มไว้บริการ จากจุดนี้คุณต้องนั่งเรือข้ามสายน้ำซองเพื่อไปขื้นรถกลับวังเวียงเป็นอันสิ้นสุดการในผจญภัย

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

สถานที่ท่องเที่ยวเวียงจันทน์

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่น่าเที่ยว ด้วยภูมิประเทศอันสวยงามทั้งขุนเขา แม่น้ำ รวมไปถึงวัฒนธรรมอันงดงาม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ลาวจึงเป็นอีกจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ดึงดึดนักท่องเที่ยวไทยให้ไปเยือนมานักต่อนัก การเดินทางสามารถเดินทางได้ทั้งเครื่องบินและขับรถกันไปเอง HotelandResort จึงได้นำข้อมูลความรู้สำหรับการเดินทาง และท่องเที่ยวลาวในจุดหมายฮอทฮิตอย่าง เวียงจันทน์ วังเวียง และหลวงพระบางให้ชมกันค่ะ

1

 

พระธาตุหลวง

1.0

พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

 

วัดสีสะเกด

2

วัดสีสะเกด หรือ วัดสะตะสะหัดสาราม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ติดกับหอคำ พระราชวังหลวงของกษัตริย์ลาวสมัยก่อนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2094 โดยพระเจ้าโพธิสารราช พระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในศตวรรษที่ 16

2.1

ในระยะที่ 2 วัดสิสะเกด สร้างขึ้นในวัดพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีขาน พ.ศ. 2361 โดย เจ้าอนุวงศ์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ถือว่าเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างศึกสงครามหลายยุคหลายสมัย และเป็นวัดเดียว ที่ไม่เคยถูกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆในเวียงจันทน์ หลังจากสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2367 พระเจ้าอนุวงศ์ก็ได้นำพาประชาชนลาวบำเพ็ญบุญกุศุลเฉลิมฉลองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืนสิ่งที่ได้ก่อสร้างพร้อมกันนี้มี หอพระไตรปิฎก

2.0

ภายในบริเวณหอพิพิธภัณฑ์มีกมเลียนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่ตามฝาผนังที่ทำด้วยดินเผา ไม้ และอื่น ๆรวมทั้งหมดมี 6,840 องค์ ส่วนอยู่ด้านบนทำด้วยประทายเพชร มีจำนวน 120 องค์ แม่พิมพ์เดียวกัน พระพุทธรูป รวมทั้งหมด ทั้งองค์ใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 10,136 องค์ ซึ่งประชาชน ได้พร้อมใจ กันหล่อนำมาถวาย พระพุทธรูปจำนวนมากมายเหล่านี้หมายถึงศิษยานุศิษย์สาวกของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า เวลาพระองค์เสด็จไปแห่งหนใดสาวก และบริวาร ต้องติดตาม เพื่อรับฟังคำโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์มิได้ขาด

 

พระประธานในสิม

3

เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กทำด้วยทองสำริด แต่เจ้าอนุวงศ์ได้ปฏิสังขรณ์ก่อครอบ ด้วยประทานเพชรฟอกด้วยน้ำปิว และให้พระประธานองค์ใหญ่หันหน้าไปทางด้านเหนือ เพื่อความ สะดวกสบายในไปกราบไหว้สักการะบูชา

 

ราวเทียน ในสิม

4

ราวเทียนในสิม มีความสูงประมาณ 1.88 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ซึ่งเป็นศิลปผสมระหว่างล้านช้างกับล้านนา ทำด้วยไม้เนื้อดีและแกะสลักเป็นรูปพญานาค สองตนเอาหางพันกัน เป็นรูปสวยงามซึ่งหมายถึง ความสามัคคีระหว่างล้านช้างและล้านนา ที่พิเศษคือฟอกด้วยน้ำทองคำปิว สร้างในสมัยเดียวกันกับ วัดสิสะเกด ศตวรรษที่ 19

 

หอพระไตรปิฎก

5

สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก และตำราคัมภีร์ เอการทางพระพุทธศาสนา ถึงแม้วัดสีสะเกดจะไม่ถูกเผาทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ แต่ก็ถูกปล้นสะดมจี้เอาพระไตรปิฎกไปจนหมดเกลี้ยง ปัจจุบันมีเพียงหอพระไตรที่แสดงไว้ให้แขกต่างด้าวท้าวต่างเมืองมาเที่ยวชม ส่วนของหลังคาหอพระไตรปิฎกจะมีความคล้ายคลึงศิลปะของพม่าเพราะในสมัยนั้น อาจได้รับอิทธิพลจากพม่า นอกจากนี้ยังมีแผ่นศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวประวัติของวัดสีสะเกด
ในสมัยก่อนวัดสิสะเกดมีอาณาเขตกว้างขวางมากมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1963 ได้ตัดเส้นทางใหม่ คือถนนเชษฐาธิราช ส่วนประตูโขงด้านหน้าติดกับหอคำ หรือสำนักงานประธานประเทศในปัจจุบัน

ประตูชัยประเทศลาว

6

ประตูชัยประเทศลาว สร้างขึ้นโดยรัฐบาลฝรั่งเศสสมัยเข้ามาครอบครองประเทศ โดยสร้างถนนและประตูชัยให้คล้ายกับชอง เอลิเซ่ในฝรั่งเศส แต่ยังสร้างไม่เสร็จดี ชาวลาวก็ประกาสอิสรภาพเสียก่อน ดังนั้น คำว่าชัยชนะของประตูนี้จึงหมายถึงชัยชนะของชาวลาว บริเวณรอบ ๆ ประตูชัยเป็นลานกว้างมีประชาชนชาวลาวมานั่งเล่นโดยรอบ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมวิวเมืองเวียงจันด้านบนของประตูชัยได้ โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่านให้กับทางเจ้าหน้าที่ ในยามเย็นสถานที่นี้จะเป็นที่ออกกำลังกาย เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองเวียงจัน และนักท่องเที่ยว

 

วัดเจ้าแม่ศรีเมือง

7

วัดเจ้าแม่ศรีเมืองเป็นสถานที่ตั้งของศาลหลักเมือง ศาลเจ้าแม่ศรีเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวลาว ให้ความเคารพนับถือกันเป็นอย่างมากและถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของนครเวียงจันทน์ และเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองของนครเวียงจันทน์ เป็นศาลหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเวียงจันทน์นับถือมากมักจะมาบนบานเพื่อขอสิ่งที่ปรารถนา

นักท่องเที่ยวมักจะมานมัสการเจ้าแม่หลักเมือง  หรือ  เจ้าแม่ศรีเมือง  ณ  วัดศรีเมือง   ซึ่งเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มีคนลาว-ไทย  และชาวต่างประเทศไปสักการบูชา กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล ผู้มาเยือนมักจะเสี่ยงทายดวงชะตา ตามตำนานเล่าต่อ ๆ กันมา ขออะไร มักสมหวังดังปรารถนา ยกเว้นขอเรื่องความรักเท่านั้น

การนมัสการเจ้าแม่ศรีเมืองที่วัดศรีเมืองที่ชาวลาวเคารพสักการะนับว่าเป็นวัดที่ศักดิ์ที่สุดในนครเวียงจันทน์ หากได้มาประเทศลาวต้องมาสักการะเจ้าแม่ศรีเมือง ซึ่งเป็นพุทธสถานเก่าแก่โบราณ ครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประดิษฐานของ  พระแก้วมรกต

วัดศรีเมือง เคยเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ทางทิศตะวันออกของสถานทูตฝรั่งเศส เป็นวัดแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ที่มีประชาชนลาวเดินทางไปสักการะบูชาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน

ภายในวัดศรีเมืองเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ วัดศรีเมืองสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2106 โดยเหล่าเสนาอำมาตย์ของพระเจ้าไชยเชษฐาธราชได้ลงความเห็นให้สร้างวัดศรีเมือง ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาถูกกองทัพสยามทำลายลงในปี พ.ศ.2371 และสร้างวัดศรีเมืองขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2458 ภายในวัดศรีเมืองมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชำรุดไปบางส่วน ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

ด้านหน้าบริเวณตรงข้ามประตูทางเข้าวัดศรีเมืองมีร้านจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน และร้านจำหน่ายผลไม้ให้บริการทางด้านตะวันออกของวัดศรีเมืองมีสวนสาธารณะเล็กๆ มีอนุสาวรีย์พระบรมรูปของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ซึ่งท่านเป็นผู้กอบกู้เอกราชคืนจากฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแท่นสูงกลางสวนสาธารณะ พระหัตถ์ทรงถือสมุดใบลานที่จารึกประมวลกฏหมายฉบับแรกของลาวไว้ พระบรมรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ นี้เป็นของขวัญที่ทางสหภาพโซเวียตมอบให้มาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  หลังจากนั้นแผ่นป้ายโลหะจารึกพระนามถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์รื้อทิ้งออกไป ภายหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในปี พ.ศ.2518

 

หอพระแก้ว

8

หอพระแก้ว คือสถานที่เคยประดิษฐาน พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานครในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นผู้อัญเชิญ แต่เดิมหอพระแก้วนั้นเคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากนครเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯมากมาย

8.0

สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2480 – 2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก็ยังเดินทางมาสักการบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในแขวงเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน

 

หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

9

หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโดยเน้นถึงการปฏิวัติในยุค 1970 และตั้งอยู่ในอาคารยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้บริจาคเงินทุนเพื่อช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925โดยเป็นที่พำนักของผู้ว่าราชการฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอประวัติศาสตร์ของประเทศลาวโดยมุ่งเน้นถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวลาวจากนักล่าอาณานิคมต่างชาติรวมถึงกองกำลังจักรวรรดินิยม พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสามแสนไทย ใกล้กับโรงแรมลาวพลาซ่า

 

การเดินทางจากกรุงเทพไปหลวงพระบาง

การขับรถส่วนตัวมาท่องเที่ยวในประเทศสปป.ลาว มีหลายเส้นทาง และค่อนข้างจะสะดวกสบายในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองกว่าในสมัยก่อนมาก เนื่องจากในปัจจุบันประเทศสปป.ลาว ได้เปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีนักท่องเที่ยวนิยมขับรถมาเองเป็นจำนวนมากทั้งจากประเทศไทย จีน เวียดนาม มาเลเซียและประเทศใกล้เคียงอื่นๆ

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวกันแบบเป็นครอบครัวหรือเป็นหมู่คณะและมีเวลามากพอ การขับรถส่วนตัวมาเองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะให้ประสบการณ์อันน่าประทับใจแก่ท่านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศสปป.ลาว มีพรมแดนที่ติดต่อกันเป็นระยะทางยาวถึง 1,810 กิโลเมตร ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย,พะเยา,น่าน,อุตรดิตถ์,พิษณุโลก,เลย,หนองคาย,นครพนม,อำนาจเจริญ,มุกดาหารและอุบลราชธานี และ 9 แขวงของลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว,แขวงไซยะบุรี,แขวงเวียงจันทน์,นครหลวงเวียงจันทน์,แขวงบอลิคำไซ,แขวงคำม่วน,แขวงสะหวันนะเขต,แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก มีจุดผ่านแดนที่สามารถนำรถเข้ามาท่องเที่ยวจากภาคเหนือจรดภาคใต้ของประเทศ สปป.ลาวมี 7 จุดด้วยกัน แต่ในที่นี้จะแนะนำเส้นทางที่นิยมขับรถเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวเมือง หลวงพระบาง เท่านั้น ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เปิดเป็นจุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการมี 3 เส้นทาง ซึ่งอยู่ทางภาคอีสานตอนบนไปจรดภาคเหนือของไทย คือ

1.ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (เส้นสีแดงในแผนที่ map 1) บ้านจอมมณี ต.มีชัย จ. หนองคาย อยู่ตรงข้ามกับนครหลวงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศสปป.ลาว)

 

การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่าน จ.สระบุรี
เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) มุ่งหน้าไปทาง จ.นครราชสีมา ผ่าน จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี
และจ.หนองคาย รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 615 กิโลเมตร
จากนั้นตรวจเอกสารการเดินทางและเอกสารรถที่ด่านตม.สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 แล้วขับข้ามสะพานมิตรภาพสู่ เมืองท่านาแล้ง มุ่งหน้าไปยังตัว เมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศ สปป.ลาว)
ระยะทางจากด่านสะพานมิตรภาพ – ตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร

แล้วใช้เส้นทาง ถ. T2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 13 เหนือ ผ่าน ตลาดสีไค ทางแยกหลัก 52 ตัวเมืองวังเวียง เมืองกาสี (จอดแวะรับประทานอาหารที่นี่) เมืองพูคูน เมืองกิ่วกะจำ เมืองเชียงเงินและปลายทางที่แขวงหลวงพระบาง ซึ่งตลอดเส้นทางจาก เมืองกาสีไปจนถึง แขวงหลวงพระบาง จะเป็นการขับรถบนภูเขาสูงเส้นทางคดเคี้ยวสวยงามผ่านโค้งต่างๆมากกว่า 4,000 โค้ง จุดสูงสุดของเส้นทางบนเขาบางช่วงจะมีความสูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล การขับรถจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และหากท่านป็นคนเมารถควรทานยาแก้เมารถป้องกันไว้ก่อนเพื่อจะได้ชื่นชมกับธรรมชาติ 2 ข้างทางอย่างมีความสุข
รวมระยะทางทั้งสิ้นจากเวียงจันทน์ 390 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง

2.ด่านสะพานมิตรภาพน้ำเหือง อยู่บ้านนากระเซ็ง ต.อาฮี อ.ท่าลี่ จ. เลย (เส้นสีน้ำเงินในแผนที่ map 1) อยู่ตรงข้ามกับ บ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าวซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองไซยะบุรีของประเทศสปป.ลาว

 

การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่านจ.สระบุรี ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 21 ผ่าน
จ.เพชรบูรณ์ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 (เส้นสีชมพูใน map 2) ผ่าน อ.หล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขต จ.เลย ที่ อ.ด่านซ้าย อ.ภูเรือ ถึงตัวเมืองใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือ จาก สระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) ผ่านจ.นครราชสีมา ถึง จ.ขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่าน อำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขต จ.เลย ที่ อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองจ.เลย ได้เช่นเดียวกัน จากตัวเมือง จ.เลย ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 2115 เข้าสู่ อ.ท่าลี่ และต.หนองผือ (map 3)

เพื่อข้ามสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว สู่ บ้านเมืองหมอใต้ จากสะพานมิตรภาพน้ำเหือง 2 กิโลเมตรแรกจะเป็นถนนลาดยางต่อจากนั้นจะเป็นถนนลูกรังไปตลอดเส้นทาง ขับรถไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน เมืองแก้วท้าว และเมืองปากลาย (ควรแวะรับประทานอาหารที่นี่) จนกระทั่งถึง แขวงไซยะบุรี เส้นทางรถวิ่งจะเป็นที่ราบและเนินเขาสลับกันไป ผ่านหมู่บ้านชาวเขาและทิวทัศน์ 2 ข้างทางที่สวยงาม ระยะทางจากด่าน ตม.ถึงเมืองไซยะบุรีรวม 250 กม. จากนั้นจะต้องนำรถข้ามแพขนานยนต์ (ท่าเรือบั๊ค) เพื่อจะข้ามแม่น้ำโขงที่ เมืองปากคอน (ควรเดินทางมาถึงที่นี่ไม่เกิน 19.00 น. เพราะแพขนานยนต์จะหยุดให้บริการ มิฉะนั้นท่านจะต้องค้างคืนที่นี่ 1 คืนรุ่งเช้าจึงจะเดินทางต่อไปได้)
ราคาค่านำรถข้ามแพขนานยนต์ 30,000 กีบ/คัน ระยะทางจากเมืองไซยะบุรีถึงเมืองปากคอน รวม 30 กม.

จากนั้นจะผ่าน เมืองนาน ซึ่งเส้นทางค่อนข้างสูงชันเพราะเป็นช่วงเขาที่สูงที่สุดของเส้นทางนี้ และ เมืองเชียงเงิน เพื่อเดินทางต่อมายัง เมืองหลวงพระบาง ตลอดเส้นทางหลังจากข้ามแพจะไม่มีโรงแรมหรือที่พักดังนั้นจะต้องมุ่งหน้าเพื่อไปพักที่ตัวเมืองหลวงพระบางเท่านั้นระยะทางจากจุดข้ามแพริมแม่น้ำโขงถึงหลวงพระบางประมาณ 85 กม. ตลอดเส้นทางท่านสามารถแวะร้านอาหาร,ห้องน้ำ,ปั๊มน้ำมันได้ 3 จุด คือที่เมืองปากลาย เมืองไซยะบุรีและเมืองเชียงเงินเท่านั้น

**หมายเหตุ** การเดินทางมาหลวงพระบางโดยใช้เส้นทางนี้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางจากสะพานมิตรภาพน้ำเหืองถึงเมืองหลวงพระบางประมาณ 8 ชั่วโมงรวมระยะทาง 365 กิโลเมตร ควรเดินทางเป็นคณะหรือมีรถร่วมเดินทางเพราะสภาพข้างทางเป็นป่าหนาทึบและภูเขา นานๆทีถึงจะเจอหมู่บ้าน หากรถท่านเสียก็สามารถจะช่วยเหลือกันได้ และควรใช้รถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เนื่องจากทางเป็นถนนลูกรังทั้งหมด บางช่วงมีฝุ่นหนาทึบ ความเร็วที่ใช้ได้ไม่เกิน 30 กม./ชั่วโมง
งดเดินทางในช่วงหน้าฝนเพราะถึงจะเป็นรถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อแล้วเอาโซ่พันไว้รอบล้อก็ยังไปไม่รอด หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ท่านจะต้องเสียค่าล่วงเวลาทำงานให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว เพิ่มอีกคนละ 5,000 กีบ (ประมาณ 20 บาท)

3.ด่าน อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย (เส้นสีเหลืองในแผนที่ map 1) อยู่ตรงข้ามกับบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของประเทศสปป.ลาว

 

การเดินทาง

จาก กรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่านจังหวัด อยุธยา สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ผ่านตัวเมือง จ.เชียงราย ระยะทางจากกรุงเทพถึงตัวเมืองจ.เชียงราย ประมาณ 785 กม.
จากตัวเมือง เชียงราย ขับต่อไปทางเหนือมุ่งหน้าสู่ อ.แม่จัน จากนั้นจึงเลี้ยวขวาเพื่อใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1016 ผ่าน
อ.เชียงแสน ระยะทางจาก อ.เมืองเชียงราย-อ.เชียงแสน ประมาณ 60 กม.
สามเหลี่ยมทองคำลัดเลาะไปตามเส้นทางริมแม่น้ำโขงที่สวยงาม ผ่านไร่นาสวนส้มและบ้าน หาดบ้าย ซึ่งเป็นหมูบ้านทอผ้าของชาวไทยภูเขาเผ่าลื้อ และ อ.เชียงของ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1129 ระยะทางจาก อ.เมืองเชียงราย – อ.เชียงของ ประมาณ 114 กม.รวมระยะทางจากกรุงเทพ ถึง อ.เชียงของ ประมาณ 930 กิโลเมตร

จากเส้นทางหลวงหมายเลข 1129 เดินทางถึง อ.เชียงของ เลี้ยวซ้ายนำรถไปผ่านพิธีการเสียภาษีและนำรถข้ามแดนที่บริเวณ ท่าเรือบั๊ค (ในวงสีแดง) เพื่อจะนำรถข้ามแพขนานยนต์ไปยัง เมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้วประเทศ สปป.ลาวจาก เมืองห้วยทรายจะต้องขับรถย้อนขึ้นไปทางเหนือผ่าน แขวงหลวงน้ำทา รวมระยะทาง ห้วยทราย-หลวงน้ำทา 158 กิโลเมตร
จาก แขวงหลวงน้ำทา ผ่าน แขวงอุดมไซ รวมระยะทาง หลวงน้ำทา – อุดมไซ 128 กิโลเมตร
และปลายทางที่ แขวงหลวงพระบาง รวมระยะทาง อุดมไซ-หลวงพระบาง ประมาณ 200 กิโลเมตร
สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางเลาะไปตามที่ราบเชิงเขาตลอดทั้งสาย (ใน map1 เป็นเส้นสีเหลือง)

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

สถานที่ท่องเที่ยวทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่บนเขาธงชัยท้องที่บ้านกรูด ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมเข้าไปทางซ้ายประมาณ 16 กิโลเมตร จะพบ ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย หันหน้าออกสู่ทะเล บริเวณรอบ ๆ มีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ และสำนักสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อพักทอดสมอเรือรบ นอกจากนี้บนเขาธงชัยยังเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์เก้ายอด เป็นจุดชมวิวที่จะเห็นชายหาดที่ทอดตัวเป็นแนวตรงริมหาดชอุ่มเขียวด้วยสวน มะพร้าวกว้างใหญ่เป็นความงามที่ผสานผสมหาดทราย น้ำทะเลและทิวมะพร้าวรวมกันเป็นภาพที่สวยงามลงตัวมาก

 ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์1

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ ตั้งอยู่บนยอดเขาธงชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกการครองราชย์ครบ50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9

 ประมหาเจดีประกาศ

ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนบุษบกใต้โดม เจดีย์ที่สร้างล้อม 8 องค์ สร้าง 4 ทิศ ขององค์เจดีย์ประธานซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกา ส่วนตัวอาคารนั้นเป็นสถาปัตยกรรมไทย ทั้งประตู หน้าต่าง และการตกแต่งภายใน หากท่านเคยเดินทางไปดูสถานที่สำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนาหลาย ๆ แห่ง จะดูเหมือนแบบของพระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ นำหลาย ๆ แห่งมาประยุกต์ และให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมไทยอย่างแนบเนียนงดงาม เหมือนเอาส่วนของพระมหาเจดีย์ บุโรพุทโธ จาก ยอรค์ยากาต้า ในอินโดนีเซีย เหมือนนำเอาส่วนของโลหะประสาทมาร่วม และเหมือนนำส่วนของหลังคาคลุมทางขึ้น และเจดีย์ล้อมของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ของเมียนม่ามาเป็นอีกส่วนหนึ่งงดงามมากจริง ๆ

น้ำตกไทรคู่

น้ำตำไทรคู่

ที่อำเภอบางสะพานมีน้ำตกชื่อดังอยู่แห่งหนึ่งนั่นคือ “น้ำตกไทรคู่” เป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม น้ำตกไทรคู่แห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามที่แตกต่างกันไป โดยชั้นที่มีความงามมากที่สุดคือชั้นที่ 5 ซึ่ง น้ำตกในชั้นนี้จะมีลักษณะที่เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิดที่บริเวณน้ำตกอีกด้วยมีน้ำไหลตลอดปี มีชั้นเชิงใหญ่ ๆ 3 ชั้น และชั้นอื่น ๆ อีกที่ลดหลั่นกันลงไปอีกหลายชั้น และที่น้ำตกไทรคู่ชั้นที่ 2,3,4, มีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่สามารถนั่งพักผ่อนและเล่นน้ำได้ อีกชั้นหนึ่งมีสายน้ำไหลทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาที่สูงเกือบ 30 เมตร ลงมากระทบแผ่นหินและแอ่งน้ำก่อนจะไหลลงมาเป็นน้ำตกชั้นที่ 4 และน้ำตกแห่งนี้เองคือที่มาของชื่อน้ำตกไทรคู่ เพราะว่ามีต้นไทรขนาดใหญ่สองต้นขึ้นมาอยู่ด้านบนของหน้าผา ทำให้รอบ ๆ บริเวณนี้มีร่มเงาและมีบรรยากาศที่ดีเหมาะแก่การเล่นน้ำและพักผ่อน ส่วนน้ำตกชั้นที่6 ต้องขึ้นโดยการไต่ไปตามหน้าผาที่ค่อนข้างชันและชื้น แต่จะมีรากของต้นไม้ที่ห้อยลงมาเพื่อให้เพื่อให้ผู้ที่รักการท่องเที่ยวแนวผจญภัยสามารถปีนขึ้นไปได้ ด้านบนของหินผาน้ำตกชั้นที่ 5 นั้น มีลักษณะเป็นลานหินขนาดใหญ่มีสายน้ำไหลผ่านลงมาตามร่องหิน เป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร ซึ่งลานหินและสายน้ำแห่งนี้คือน้ำตกชั้นที่ 6 ของน้ำตกไทรคู่ นอกจากนี้บริเวณลานหินแห่งนี้ยังเป็นจุดชมวิวได้อีกด้วย ริมธารน้ำมีลานให้นั่งพักชมน้ำตก สามารถลงเล่นน้ำได้ บรรยากาศรอบๆ ร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานาชนิด เหมาะแก่การพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง

อ่าวแม่รำพึง

อ่าวแม่รำพึง

เป็นอ่าวขนาดใหญ่ มีถนนเลียบชายทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวประมงที่กำลังตากหมึกตากปลาอยู่ทั้งสองฟากถนน มีที่พัก ร้านอาหารริมชายหาด ไว้บริการนักท่องเที่ยว

อ่าวมะนาว

อ่าวมะนาว

เป็นอ่าวที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ และกิจกรรมชายหาดมากที่สุด อยู่ในความดูแลของ กองบิน 5 อยู่ไปทางตอนใต้ของอ่าวประจวบฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร สถานที่นี้เคยเป็นยุทธภูมิรบ ระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยในสมัยสงราม โลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันมีสถนที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น อุทยานประวัติศาสตร์ ศาลเจ้าพ่อเขาล้อมหมวก ขึ้นเขาล้อมหมวกชมทัศนียภาพของอ่าวน้อย-อ่าวประจวบฯ-อ่าวมะนาว

เขาช่องกระจก

เขาช่องกระจก1

 

เป็นเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่ริมอ่าวประจวบฯ มีบันได ขึ้นถึงยอดเขา 396 ชั้น เป็นจุดชมวิวที่สามารถ มองเห็นทัศนียภาพประจวบคีรีขันธ์มหัศจรรย์ เมืองสามอ่าว (อ่าวน้อย อ่าวประจวบฯ อ่าว มะนาว) นอกจากนี้บนเขายังเป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง พระธาตุเจดีย์และพระศรี มหาโพธิ์

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร  

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร0

ชายหาดอันลือชื่อของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ทอดตัวเป็นแนวยาวลงไปในทะเลทิวทัศน์ที่เงียบ สงบบนฝั่งมีทิวสนทะเล และสนประดิพัทธ์เป็นแนวขนานกับทะเล มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 23,750 ไร่ หรือ 38 ตารางกิโลเมตร

เขาธงชัย 

เขาธงชัย

เป็นจุดชมวิวที่สำคัญของชายหาดบ้านกรูด จากจุดนี้จะมองเห็นเวิ้งอ่าวและทิวมะพร้าวสุด สายตา เหมาะสำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้นและตก

พระพุทธกิตติสิริชัย พระสีทอง) 

พระพุทธกิตติสิริชัย

เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 10  เมตร สูง 13.82 เมตร ฐานสูง 4.18 เมตร ตั้งอยู่ เขาธงชัย หันพระพักตร์ออกสู่ทะเล สร้างขึ้นเพื่อ น้อมเกล้าฯ ถวายสมด็จพระบรมราชินีนาถ เนื่อง ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนม์พรรษา ครบห้ารอบ

หาดบ้านกรูด  

หาดบ้านกรูด

เป็นชายหาดที่กว้างและสวยงาม แนวหาดยาวประมาณ 12 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอบางสะพานกับอำเภอทับสะแก

วัดเขาถ้ำม้าร้อง

วัดเขาถ้ำม้าร้อง1

 

จากตลาดบางสะพานใช้เส้นทาง no.3374 ลงไป ทางใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร วัดเขาถ้ำม้าร้อง เป็นวัดอยู่บนเนินเขา และมีถ้ำขนาดเล็ก ภายใน ถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่นับร้อยองค์

หาดฝั่งแดง  

หาดฝั่งแดง ใช้

ห่างจากตัวอำเภอบางสะพานน้อยประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามแปลกตา มีหน้าผาสีแดง เลียบไปตามแนวชายหาด หากจากมองจากทะเลเข้ามาจะมองเห็นเป็นสีแดง สะดุดตา จึงเป็นที่มาของชื่อหาดฝั่งแดง น้ำทะเลใสสะอาด บรรยากาศเงียบสงบ

อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ

อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ

เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวรัชการที่ 4 เคยเสด็จมาทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ หว้ากอ ริมชายหาดหว้ากอที่ทอดยาวขนานไปกัน แนวสน บรรยากาศดี

ด่านสิงขร  

ด่านสิงขร1

เป็นทางที่พวกพ่อค้า และนักเดินทางทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศใช้เป็นทางลัด ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย และจุดนี้เอง ที่ กม.331 บ้านหนองหิน ท้องที่ตำบลคลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ คือ จุดที่แคบที่สุดของประเทศไทย

น้ำตกห้วยยาง

น้ำตกห้วยยาง

มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอบางสะพาน อำเภอทับ สะแก ในพื้นที่ของอุทยานฯได้รวมจุดเด่นของน้ำ ตกที่สวยงามไว้หลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยยาง น้ำตกขาอ่อน น้ำตกเขาล้าน น้ำตกไทรคู่ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง เป็นน้ำตกที่มีขนาด 9 ชั้น มีความสวยงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นของต้นไม้นานาพันธุ์

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หว้ากอ

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หว้ากอ1

ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปทางทิศใต้ 10 กิโลเมตร (ขับรถประมาณ 15 นาที) ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ นำดอกทิวลิปกว่า 2,000 ต้น มาจัดแสดงบริเวณสวนประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเทศกาลชมสวน 2014

02

04

06

เทศกาลชมสวน (Flora Festival 2014) ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ มีการนำดอกทิวลิป 2,250 ต้น จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Rambo/ Strong Gold/ Don Quichotte/ Ad rem และ Showbizz ออกมาจัดแสดง ซึ่งถือว่าเป็นการบานครั้งแรกของดอกทิวลิปในช่วงฤดูหนาวปีนี้ที่เชียงใหม่ โดยจะนำมาผลัดเปลี่ยนทุกๆ 10 วัน ให้นักท่องเที่ยวได้ชมความสวยงามตลอดการจัดงาน 3 เดือน ณ บริเวณสวนประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากดอกทิวลิปแล้วยังมีดอกลิลลี่ ไซคาเมน บีโกเนียกุหลาบ ฯลฯ ที่มีความสวยงามไม้แพ้กัน สำหรับในเทศกาลชมสวน มีการตกแต่งไม้ดอกเมืองหนาว

4 มุม

นานาพรรณอย่างสวยงาม พร้อมชม 9 จุดไฮไลท์ที่สามารถหาชมได้ในงานนี้งานเดียวเท่านั้น ได้แก่ นิทรรศการ “เทิดไท้องค์ราชัน กับการทรงงานในประเทศอาเซียน” “พระบารมีร่มเย็น ยังประโยชน์สุข ทั้งชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน” สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ “เรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงตามรอยเบื้องพระยุคลบาท”

01

05

ศูนย์เรียนรู้มูลนิธิโครงการหลวง การแสดง แสง สี หอคำหลวง อุทยานกล้วยไม้ ตระการตากล้วยไม้นานาพันธุ์หลากสีสันกว่า 300 ชนิด โดมไม้เขตร้อนชื้น ซุ้มผักแฟนซี Flower Mosaic ดอกไม้อาเซียนรวมใจ สวนใหม่จากองค์กรชั้นนำของประเทศ สำหรับ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 หรือ วันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดกิจกรรมส่งสุขปีใหม่ ภายใต้โครงการ “เกษตรกรได้รับ ประชาชนได้รู้ คืนความสุขสู่คนไทย จากใจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” โดยอุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้เป็นหนึ่งในโครงการและปิดให้ประชาชนเข้าชมงานฟรีตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ 08.00 – 01.00 น. โดยจะมีการแสดงพลุ จำนวน 2558 นัด สำหรับงาน “เทศกาลชมสวน (Flora Festival 2014)” นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ระหว่างเวลา 08.00 – 20.00 น.

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com

ปางอุ๋ง

1

ปางอุ๋ง มีลักษณะเป็นพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่บนยอดเขาสูง ริมอ่างเก็บน้ำเป็นทิวสนที่ปลูกเรียงรายกัน ปางอุ๋ง ที่หลายๆ คนอาจยังไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “ปาง” ซึ่งหมายถึงที่พักของคนทำงานในป่า ส่วน “อุ๋ง” นั้น เป็นภาษาเหนือหมายถึงที่ลุ่มต่ำ คล้ายกระทะใบใหญ่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ก็น่าจะหมายถึงที่พักริมอ่างเก็บน้ำนี่เอง ภาพอันสวยงามของไอหมอกที่ลอยเหนือทะเลสาป กับบรรยากาศอันหนาวเหน็บในยามเช้า ทำให้ปางอุ๋ง กลาย เป็น เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ยอดฮิตสุดแสนโรแมนติกติดอันดับต้นๆของ แม่ฮ่องสอน จนได้รับขนานนาม ว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย” ยิ่งยามพระอาทิตย์ขึ้นจะสะท้อนผืนน้ำผ่านทิวสนและไอหมอกบางๆ ยิ่งเป็นภาพที่สร้างความประทับยากจะลืมเลือน แม้ในกระทั่งเวลาที่หมอกเลือนลางหายไปก็ยังคงความงาม

5

ที่ปางอุ๋งนอกจากชมบรรยากาศของสายหมอกในยามเช้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ การนั่งแพ ชมทัศนียภาพและ บรรยากาศโดยรอบ รวมถึงชมนดาราแห่งปางอุ๋ง นั่นก็คือหงส์พระราชทานจากสมเด็จพระราชินี ซึ่งเป็นหงส์ดำและหงส์ขาวอย่างละ 1 คู่ด้วยกันและไม่ควรพลาดที่จะไปชมสวนปางอุ๋งใกล้กับ ที่ทำการของ โครงการพระราชดำริฯ ซึ่งจัดสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีพืชพรรณ ที่กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศบนที่สูงทดแทนไร่ฝิ่น ร้างแต่ดั้งเดิมซึ่งไว้ลูกพืชที่ให้ประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแพทย์แผนไทย และสร้างความกลมกลืนกับ ภูมิประเทศ เช่น อะโวคาโด พลับ สาลี่ บ๊วยอีกทั้งยังมีการตกแต่งด้วยสวนไม้ ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เช่น กุหลาบ ไฮเดรนเยีย พวงแสด อีกทั้งยังมีการพยายามนำพืชและสัตว์ประจำถิ่นของพื้นที่ปางอุ๋งกลับมา เช่น เอื้องแซะและกล้วยไม้ต่างๆ และสัตว์อย่างเขียดแลน เป็นต้น

3

ระเบียบข้อปฏิบัติในพื้นที่โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทยตามพระราชดำริ (ปางอุ๋ง)
นักท่องเที่ยวประเภทพักค้างแรม
– ต้องลงทะเบียน ผ่านศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงจะสามารถนำรถเข้าปางอุ๋งได้
– โทรศัพท์ 053-611-244 มือถือ 085-618-3303 โทรสาร 053-611-649, 053-611-690
– การจองที่พัก ให้แจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ แก่เจ้าหน้าที่ (พื้นที่รองรับได้ 500 คน/วัน)
– ถึงแม้จะมีบัตรค้างแรมแต่ก็นำรถเข้าออกพื้นที่ได้ระหว่างเวลา 09.00 – 18.00 น. เท่านั้น
.นักท่องเที่ยวประเภทไปกลับ
– ผู้ที่ไม่มีบัตรค้างแรม จะต้องนำรถไปจอดไว้ที่ โรงเรียนบ้านนาป่าแปก หรือ วัดนาป่าแปก
– โดยสารรถสองแถวของชุมชนเข้าไปที่ปางอุ๋งซึ่งให้บริการระหว่างเวลา 04.00 – 18.00 น.
– บัตรโดยสารคนละ 50 บาท (ใช้ได้ทั้งขาไปและกลับเหมือน Airport Link Express Line)
– รถออกทุก 20 นาที กรณีเหมาคัน (ผู้โดยสารไม่เกิน 6 คน) คิดค่าบริการต่ำสุด 300 บาท
รถที่เข้าปางอุ๋งได้
– รถรับจ้างประจำทางในพื้นที่
– รถของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
– รถของหน่วยงานราชการในพื้นที่โครงการ
– รถของหน่วยงานราชการที่ได้รับบัตรผ่านจากจังหวัด
– รถของนักท่องเที่ยวที่มีบัตรผ่านค้างแรม เข้าออกพื้นที่ได้ระหว่างเวลา 09.00 – 18.00 น.
.รถที่เข้าปางอุ๋งไม่ได้
– รถบัส รถบรรทุกขนาดใหญ่
– รถของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ที่เดินทางไปกลับวันเดียว ไม่พักค้างแรมที่ปางอุ๋ง
– รถของนักท่องเที่ยวที่มีบัตรผ่านค้างแรม แต่ทว่า เดินทางมาถึงปางอุ๋งหลังเวลา 18.00 น.

ข้อมูลอื่นๆ
– ที่พักบนปางอุ๋ง จะมีเครื่องปั่นกระแสไฟให้ใช้เฉพาะช่วงเวลา 18.00 – 22.00 น. เท่านั้น เป็นอีกเหตุผลท ี่สั่งห้าม รถเข้า-ออกหลังเวลา 18.00 น. เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง นักท่องเที่ยว ควรเตรียมไฟฉาย ส่องสว่าง และแบตเตอรี สำรองให้เพียงพอต่อการใช้งาน

4

ที่พักปางอุ๋ง
1. รวมไทยเกสท์เฮ้าส์ที่พักติดทะเลสาป 053-611244 มี 4 แบบ
– บ้านหลังใหญ่  2 หลัง นอนได้ 4 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 600 บาท
– บ้านหลังกลาง 3 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 450 บาท
– บ้านชนเผ่า     4 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 450 บาท
– บ้านหลังเล็ก   4 หลัง นอนได้ 2 คน ห้องน้ำรวม     ราคา 350 บาท

2. บ้านพักร่วมโครงการฯ ในหมู่บ้าน
– บ้านพัก 69 หลัง นอนได้ 2 คน มีห้องน้ำในตัว ราคา 400 บาท
– พักเกินจำนวน คิดเพิ่มคนละ 100 บาท

กรณีพักค้างแรมด้วยเต็นท์
– เต็นท์ จะไม่มีการจองล่วงหน้า ให้ติดต่อศูนย์ศิลปาชีพฯ ด้วยตนเอง ก่อนเวลา 12.00 น.
– พื้นที่กางเต็นท์จำกัด 100 พื้นที่ต่อวัน และต้องเดินทางไปถึงปางอุ๋ง ก่อนเวลา 18.00 น.
– พื้นที่สำหรับกางเต็นท์ (นำเต็นท์มาเอง) 70 พื้นที่ ราคา 100 บาท ต่อ 1 หลัง
– พื้นที่สำหรับกางเต็นท์ (มาเช่าเต็นท์ที่นี่) 30 พื้นที่ ราคา 300 บาท ต่อ 1 หลัง
***บริการล่องแพชมบรรยากาศและหงส์ ราคา 150 บาท
***ช่วงเทศกาลที่พักจะเต็มเร็วมากหากใครจะไปเที่ยวต้องจองล่วงอย่างน้อย 1 เดือน

ระเบียบการจองบ้านพัก
– โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทยตามพระราชดำริ (ปางอุ๋ง) จะเก็บข้อมูลการจองเอาไว้ 7 วัน
– หากไม่โอนเงินภายใน 7 วัน ถือว่ายกเลิกการจอง และถูกตัดยอดไปให้ผู้อื่นต่อในทันที
– ส่งแฟกซ์ใบโอนเงินมาที่ 053-611-649, 053-611-690 ระบุชื่อผู้พัก/ผู้จอง วันที่เข้าพัก
– เงินที่โอนเข้าบัญชีแล้ว ไม่มีการคืน, สามารถเปลี่ยนวันเข้าพักได้ หากมีที่ว่างในเวลานั้น
– นำใบโอนเงินตัวจริงมาในวันเข้าพักด้วย
– รับจองบ้านพักเฉพาะวันและเวลาราชการ (จันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00 น.)
– รับบัตรค้างแรมได้ทุกวัน เวลาราชการ (จันทร์ – อาทิตย์ ระหว่างเวลา 8.30 – 16.00 น.)

บ้านพักของโครงการพระราชดำริ ปางตอง 2 (ปางอุ๋ง)
โครงการพระราชดำริ ปางตอง ปางอุ๋ง  (ส่วนป่าไม้)   มีบ้านพักจำนวน 5 หลัง และพื้นที่กางเต็นท์ จำนวน  50  เต็นท์ ต่อวัน ไว้บริการให้แก่หน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา สมาคม-ชมรม และนักท่องเที่ยว เข้าไปพักแรมและเยี่ยมชม   เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ติดต่อเจ้าหน้าที่ีี่ โครงการฯ  หมายเลขโทรศัพท์  080 847 8456 และ 087 661 8594

3. โฮมสเตย์ของชาวบ้าน
นอกจากที่พักของโครงการซึ่งตั้งอยู่ใกล้กะบทะเลสาปแล้ว ในบริเวณทางเข้าปางอุ๋งยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ ซึ่งเป็นของชาวบ้านเปิด ให้บริการหลายหลังชมภาพพร้อมข้อมูล

2

การเดินทางไปปางอุ๋ง

1.โดยรถส่วนตัว
เส้นทางที่1
– จากกรุงเทพ ถ้าขับรถไปเองอาจใช้เส้นทางกรุงเทพ-ฮอด ผ่านอยุธยา-นครสวรรค์-ตาก ถึง อำเภอลี้ แยกซ้ายเข้า อำเภอ แล้วเดินทางต่อไปตามเส้นทาง ลี้-บ้านโฮ่ง ก่อนถึง อำเภอบ้านโฮ่ง จะมีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปทะเลสาบ ดอยเต่า ขับไปจนถึงฮอด จากนั้นใช้เส้นทาง ฮอด – แม่ฮ่องสอน ผ่าน อำเภอขุนยวม เข้าสู่ อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน – จากเมืองแม่ฮ่องสอนสู่ปางอุ๋ง ตามเส้นทางสู่ แม่ฮ่องสอน-ปางมะผ้า-ปาย ขับไปเรื่อย ๆ ผ่านน้ำตก ผาเสื่อ ผ่านพระตำหนักปางตอง เข้าสู่บ้านหมอกจำแป๋ หมู่บ้านใหญ่เป็นจุดแยก ซ้ายไปปางอุ๋ง ขวาไปถ้ำปลา (ระยะทางไปถ้ำปลาแค่ 3 ก.ม.)เลี้ยวซ้ายจากนี้ไป หนทางคดโค้ง ไต่เขาชันขึ้นเรื่อยๆ มาถึง บ้านนาป่าแปก หมู่บ้านรวมมิตรที่จะเห็นชาวบ้านทั้งกระเหรี่ยงและไทยใหญ่ แต่งกายเป็นเอกลักษณ์ เลี้ยวซ้ายเข้า หมู่บ้านรวมไทย ผ่านหมู่บ้านรวมไทย ก็เข้าถึงจุดหมายโครงการสวนป่าในพระราชดำริปางตอง 2 “ปางอุ๋ง” ทะเลสาบสวย แต่ถ้าตรงไปเป็น หมู่บ้านรักไทย หมู่บ้านของชาวจีน จากกองพล 93

เส้นทางที่2
– มุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่ แล้วค่อยต่อไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขาขึ้นจากเชียงใหม่แนะนำเส้นทางแม่มาลัย-ปาย-ปางมะผ้า มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ก่อนถึงแม่ฮ่องสอน จะถึงทางเข้าบ้านหมอกจำแป่ ให้เลี้ยวขวาเข้า ไปตามทางจะมีป้ายบอกทางไป บ้านรวมไทย น้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง บ้านรักไทย ซึ่งอยู่ทางเดียวกัน ประมาณ 25 กิโลเมตรมีทางแยกซ้าย ป้ายเล็กๆ เขียนว่า บ้านรวมไทย ให้เลี้ยวเข้าไปผ่านหมู่บ้านห้วยมะเขือส้ม ตรงไปเรื่อยๆ ก็จะถึงบ้านรวมไทย หรือ ปางอุ๋ง

2.โดยสารรถประจำทาง
จากแม่ฮ่องสอน ให้ไปที่หน้าตลาดสายหยุด ถามหาคิวรถปางอุ๋ง จะมีรถสองแถวประจำทางขึ้นไปยังปางอุ๋ง (บ้านรวมไทย) เป็นสาย แม่ฮ่องสอน-ห้วยมะเขือส้ม เที่ยวไป 09.00 น. และ 14.00 น., เที่ยวกลับ 06.00 น. และ 11.00 น.หรืออาจจะเหมารถจากหน้าตลาดสายหยุดไปเลยก็ได้อัตรค่าโดยสารประมาณ 600 บาท
สำหรับคนที่ต้องการรถสองแถวนำเที่ยวปางอุ๋ง ติดต่อ โทร 081 784 5121, 086 115 2816 ราคาวันละ 1600 บาท โดยจะนำเที่ยวปางอุ๋ง บ้านรักไทย พระตำหนักปางตอง ภูโคลน โดยจะมารับเวลาตี 5 ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน หรือแล้วจะตกลงสถานที่

เรียบเรียงโดย www.HotelAndResortThailand.com

เรื่องราวท่องเที่ยว By Hotel&Resort