หลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้าง ตั้งแต่สมัยสถาปนาอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าเมืองซวา (ออกเสียงว่า ซัว) และเมื่อ พ.ศ. 1300 ขุนลอ ซึ่งถือเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวได้ทรงตั้งเมืองซวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างและได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่าเชียงทอง หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วัดเชียงทอง
ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า “วิหารแดง” ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
วัดแสนสุขาราม
ในบรรดาวัดท้งหมดวัดแสนสุขารามนั้นที่เป็นเจ้าของ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่องค์เดียวในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้าง ภายหลังหลวงพระบางแยกออกจากนครเวียงจันทร์เมื่อ 11 ปีที่แล้วเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งก่อนหน้านั้นบริเวณที่สร้างวัดแสนสุขารามมีวัดเก่าอยู่ก่อนหน้านั้นสร้างขึ้นเมื่อ คริสตวรรษที่ 15 พระยืนที่สูงและใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง มีพระพักตร์ที่งดงามผ่องแผ้ว ข้างหอพระยืนมีหอรอยพระพุทธบาทจำลอง ส่วนพระอุโบสถดูงดงามอลังการด้วยการทาสีแดงและเขียนภาพสีทองลงบนพื้นแดงภายในมีการตกแต่งประดับประดาที่มีสีสันสวยสดงดงามหาที่ติ พระประธานมีความงามชดช้อย
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม
ชาวหลวงพระบาง เรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ซึ่งมีอายุในต้นศตวรรษ ที่ 19 และ เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระสังฆราชลาว มาก่อน อุโบสถของวัดนี้สร้างด้วยเครื่องไม้มีหลังคาซ้อนกัน ห้าชั้นตามแบบหลวงพระบาง กำแพงพระระเบียงด้านหน้า ทำเป็นลายรดน้ำปิดทองเล่าเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก พระบางเคย ประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และ ในวันปีใหม่จะมีการแห่แหน พระบางออกมา ให้ประชาชนได้สักการะบูชากันที่นี่ ปัจจุบันวัดใหม่ใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม
พระราชวังหลวงพระบาง
ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบางซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิดรับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.
วัดวิชุนราช
ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนน วิชุนราช ค่าเข้าชมคนละ 5,000 กีบ ในบรรดาวัดทั้งหมดของเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกให วัดวิชุน ในความแปลกที่พระธาตุเจดีย์ รูปโค้งมนเหมือนผลแตงโม และ เจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรมของลาวยกให้มีความสำคัญ ความโดดเด่น ของวัดวิชุน แม้เพียงนั่งรถผ่านไปถนนวิชุนราชก็ จะแลเห็นเจดีย์รูปแตงโมผ่าครึ่งนี้สะดุดตา และ ภายในพระอุโบสถของวัดวิชุน ด้านหลังของพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบาง เช่น พระพุทธรูปสำริด ไม้จำหลัดลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรัก ปิดทองเท่าคนจริงจำนวนมาก พระธาตุจอมษีบนยอดเขาสูงสุดของภูษี สถานที่ท่องเที่ยที่นิยมมากที่สุดที่ไม่ควรพลาด เป็นสเมือน “ถ้ามาถึงหลวงพระบาง ไม่ได้ขึ้นยอดเขาภูษีถือว่าไม่ถึง หลวงพระบาง หรือ เที่ยวเชียงใหม่ แล้วไม่ขึ้นไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ก็มาไม่ถึงเชียงใหม่เช่นเดียวกัน” ยอดเขาภูษี เพื่อจะชมความงามของพระอาทิตย์ตกดิน ยอดเขา ภูษี เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมือง หลวงพระบาง การได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาภูษี 328 ขั้น ทำให้เห็นเมืองหลวงพระบาง และ เห็นสายลำแม่น้ำโขงและ แม่น้ำคานอย่างชัดเจน และ ใกล้นี้เองก็ชมพระธาตุจอมสี ตั้งอยู่บนยอดสูงของภูษี พระธาตุสามารถมองเห็นได้แต่ไกลรอบๆเมือง หลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริด 7 ชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่งดงามมากที่สุด คือช่วงบ่าย แสงแดดจะสาดส่องมายังที่พระธาตุให้เห็นเป็นสีทองเหลืองอร่ามตา มีทางเดินรอบๆพระธาตุนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกันที่นี่ สเมือนที่นี่เป็นจุดนัดพบของเหล่านักท่องเที่ยวนานาชาติ ที่กระหายหาความงดงามของพระอาทิตย์ยามอัสดงอย่างแน่นหนาทีเดียว
น้ำตกกวางสี
น้ำตกกวางสี หรือ ตาดกวางซี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพระบาง น้ำตกแห่งนี้อยู่นอกเมืองหลวงพระบางไปทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร สภาพทางเป็นถนนลาดยาง ทางคดเคี้ยวเล็กน้อย
ชื่อของน้ำตกกวางสี หมายถึง กวางหนุ่มที่เขาเพิ่งเริ่มงอก (ภาษาไทยเรียกกวางซีหรือกวางเขาซี) น้ำตกวางสีเป็นน้ำตกหินปูน สายน้ำทิ้งตัวจากหน้าผาสูงกว่า 70 เมตร สู่แอ่งน้ำกว้างเบื้องล่าง ทำให้เกิดละอองฝอยของไอน้ำพุ่งกระจายทั่วบริเวณ โดยบริเวณด้านล่างน้ำตกจะมีสะพานและเส้นทางให้เดินในชมมุมต่างๆ ตลอดจนมีที่นั่งให้ชมทิวทัศน์และพักผ่อนหย่อนใจ น้ำตกกวางสีมีน้ำไหลตลอดปี อากาศเย็นสบาย แต่ช่วงที่สวยที่สุดคือ ปลายฝนต้นหนาว เพราะน้ำจะใส ป่าจะเขียว อนุญาตให้เล่นน้ำได้เป็นบางจุดตามป้ายเตือนไว้เท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากใกล้ชิดน้ำตกก็มีทางเดินด้านข้างให้เลาะไปยังชั้นบน ซึ่งควรระมัดระวังในการเดินเพราะจะเป็นเส้นทางที่ลื่นชัน
น้ำตกกวางสีอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้การดูแลจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ การไปเที่ยวน้ำตกจะต้องผ่านด่านตรวจซึ่งปิดในเวลา 15.00 น. นักท่องเที่ยวจึงควรไปถึงก่อนเวลา น้ำตกกวางสีมักมีชาวหลวงพระบางนิยมไปเที่ยวกัน โดยเฉพาะในยามมีงานบุญหรือเทศกาล ตามเ้ส้นทางสู่น้ำตกกวางสี จะได้พบกับวิถีชีวิตอันแท้จริงของบรรดาชนเผ่าในลาว โดยเฉพาะหมู่บ้านลาวเทิง เช่น หมู่บ้านท่าแป้น บ้านตาด บ้านอู้
ส่วนบริเวณด้านหน้าทางเข้า นักท่องเที่ยวจะพบร้านอาหารตามสั่ง ร้านอาหารประเภทปิ้งปลา ปิ้งไก่ ส้มตำ และเหล้าเบียร์ให้บริการอยู่หลายร้าน นอกจากนี้ ยังมีร้านขายของที่ระลึกให้เลือกซื้อกลับไป ส่วนใหญ่เป็นของใช้ที่ทำจากไม้ไผ่หลายชนิด
การเดินทางไปน้ำตกกวางสี มีรถจัมโบ้ออกจากตลาดชาวเขาหรือตลาดม้ง ตรงสี่แยกกลางเมือง แต่หากไปกันน้อยคนจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารจะเต็ม รถจึงออก หรือมิฉะนั้นต้องเหมารถไป
น้ำตกตาดแซะ
น้ำตกตาดแซะเป็นแอ่งน้ำสีเขียวมรกตขนาดใหญ่ที่รายลอบไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้น้อยใหญ่ และด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ทำให้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ น้ำตกตาดแซะจะมีผู้คนทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวออกมาเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก
น้ำตกตาดแซะ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลาง ชั้นของน้ำตกไม่สูงมากนัก เปรียบได้กับแก่งน้ำในประเทศไทย โดยมีสายน้ำไหลอาบมาตามลานหินกว้างลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ ลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ เสมือนเป็นสระว่ายน้ำที่ธรรมชาติบรรจงสร้างขึ้นมาอย่างงดงาม โดยนักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าในบริเวณน้ำตกเพื่อมานั่งรับประทานอาหารได้ด้วย เพราะน้ำตกแห่งนี้มีเก้าอี้หินให้บริการตมบริเวณแอ่งน้ำรอบๆ น้ำตกให้พักผ่อนอัธยาศัยได้ทั้งวัน
การเดินทาง จากตัวเมืองหลวงพระบางสามารถเหมารถสามล้อหรือสี่ล้อเครื่องมาเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย โดยมาลงที่บ้านแอ่นริมน้ำคาน จากนั้นนั่งเรือรับจ้างของชาวบ้านล่องตามแม่น้ำคาน เข้าไปอีกประมาณ 15 นาที จะพบทางเข้าน้ำตก ซึ่งต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร จะพบน้ำตกตาดแซะ การเดินทางด้วยเรือไปตามแม่น้ำคานนี้ นับเป็นเสน่ห์สำคัญของการเที่ยวน้ำตกตาดแซะ
ตลาดม้ง
เป็นตลาดของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณรอบหลวงพระบาง เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ และ มีบทบาทในประเทศลาวมาก ตลาดม้งเป็นตลาดที่ เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน กระเป๋า ผ้าห่ม เสื้อผ้า และ เครื่องเงิน ที่มีราคาถูกและ ย่อมเยา “ถ้ำติ่ง” ซึ่งเป็นสถานที่นักท่องเที่ยวนิยมจะมาแวะเยี่ยมชม ค่าเข้าชมถ้ำ ก็คนละ 8000 กีบ หรือ 20 บาท ก็ได้ ถ้ำติ่งประกอบด้วย 2 ถ้ำแยกด้านขวาไปถ้ำติ่งลุ่ม (ล่าง) แยกซ้ายไปถ้ำติ่งเทิง (บน) ถ้ำติ่งลุ่ม หรือ ถ้ำติ่งล่างนั้น สูง 60 เมตรจากพื้นน้ำมีลักษณะเป็นโพรงถ้ำตื้นเล็กๆมีหินงอกหินย้อย แต่ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก เป็นถ้ำที่มีพระพุทธรูปจำนวนมากมายหลายขนาด ส่วนมากเป็นพระยืนซะส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ได้เล่าให้เราฟังว่า “สมัยโบราณเป็นที่สักการะบวงสรวงวิญญาณ ผีฟ้า ผี แถน และ เทวดาผาติ่ง ถ้ำติ่งแสดงถึงยุคแห่ง การปฏิวัติทางความเชื่อของชาวลาวในอดีตที่เคยนับถือผีพระเจ้าโพธิสารราชทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้ามา และ ทรงใช้ถ้ำติ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ทางพุทธศาสนา มีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคริสตวรรษที่ 18-19 กว่า 2500 องค์ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ เมื่อตอนค้นพบใหม่ๆมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งที่ทำด้วยเงิน และ ทองคำ แต่ถูกลอกออกไปหมด” ส่วนถ้ำติ่งบนนั้นต้องเดินขึ้นไปบนเขาขึ้นบันไดประมาณ 200 ขั้น สองข้างทางร่มรื่นไปด้วยเงาไม้ มีห้องสุขาให้ไว้ คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกสบายมาก ถ้ำติ่งบนเป็นถ้ำไม่ค่อยลึกเท่าไร มีพระพุทธรูปอยู่มนถ้ำแต่ไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งล่าง
ย่านบ้านเจ็ก “ย่านบ้านจีนเก่าสไตล์ยุโรป”
ย่านบ้านเจ็กทอดตัวยาวอยู่ระหว่างถนนศรีสว่างวงศ์ เป็นย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง ที่เรียกว่าบ้านเจ็ก เนื่องจากว่า สมัยก่อนเป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของคนเชื้อสายจีน(เจ็ก) ตึกแถวในละแวกนี้มีลักษณะเป็นห้องแถวแบบจีน แต่ประดับตกแต่งลวดลายคล้ายแบบยุโรปจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ โดยผู้เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเมืองหลวงพระบางก็คือ เจ้าอุปราชบุญคง กล่าวได้ว่า สภาพผังเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน รวมทั้งอาคารที่ทำการของรัฐส่วนมากซึ่งก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมผสมยุโรปนั้น เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ปัจจุบัน ตึกแถวสองข้างทางย่านบ้านเจ็กปรับปรุงเป็นร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านกินดื่ม และร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งแหล่งที่พักราคาย่อมเยาสำหรับนักเดินทางประเภทแบกเป้ด้วย ซึ่งส่วนมากอยู่ด้านหลังตึกแถวอาคารพาณิชย์ของบ้านเจ็ก บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งชุมนุมของนักท่องเที่ยวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
เฮือนมรดกเชียงม่วน “บ้านไม้เก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบาง”
เฮือนมรดกเชียงม่วน เป็นอาคารอนุรักษ์ขององค์การยูเนสโก กล่่าวกันว่า ดั้งเดิมเป็นของพระยาหมื่นนา ขุนนางในราชสำนักล้านช้าง ในสมัยหนึ่งขุนนาง และคหบดีเมืองหลวงพระบางนิยมปลูกเรือนตึกแบบฝรั่ง ทำให้อาคารไม้แบบเดิมถูกรื้อไปมาก ที่เหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ก็เฉพาะเรือนหลังนี้เท่านั้น นับเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นมรดกโลกที่องค์การยูเนสโกได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างของบ้านลาวยุคโบราณ
เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com