สถานที่ท่องเที่ยวเวียงจันทน์

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นอีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่น่าเที่ยว ด้วยภูมิประเทศอันสวยงามทั้งขุนเขา แม่น้ำ รวมไปถึงวัฒนธรรมอันงดงาม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ลาวจึงเป็นอีกจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ดึงดึดนักท่องเที่ยวไทยให้ไปเยือนมานักต่อนัก การเดินทางสามารถเดินทางได้ทั้งเครื่องบินและขับรถกันไปเอง HotelandResort จึงได้นำข้อมูลความรู้สำหรับการเดินทาง และท่องเที่ยวลาวในจุดหมายฮอทฮิตอย่าง เวียงจันทน์ วังเวียง และหลวงพระบางให้ชมกันค่ะ

1

 

พระธาตุหลวง

1.0

พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

 

วัดสีสะเกด

2

วัดสีสะเกด หรือ วัดสะตะสะหัดสาราม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ติดกับหอคำ พระราชวังหลวงของกษัตริย์ลาวสมัยก่อนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2094 โดยพระเจ้าโพธิสารราช พระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในศตวรรษที่ 16

2.1

ในระยะที่ 2 วัดสิสะเกด สร้างขึ้นในวัดพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีขาน พ.ศ. 2361 โดย เจ้าอนุวงศ์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ ถือว่าเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งอยู่ในระหว่างศึกสงครามหลายยุคหลายสมัย และเป็นวัดเดียว ที่ไม่เคยถูกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆในเวียงจันทน์ หลังจากสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2367 พระเจ้าอนุวงศ์ก็ได้นำพาประชาชนลาวบำเพ็ญบุญกุศุลเฉลิมฉลองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืนสิ่งที่ได้ก่อสร้างพร้อมกันนี้มี หอพระไตรปิฎก

2.0

ภายในบริเวณหอพิพิธภัณฑ์มีกมเลียนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ อยู่ตามฝาผนังที่ทำด้วยดินเผา ไม้ และอื่น ๆรวมทั้งหมดมี 6,840 องค์ ส่วนอยู่ด้านบนทำด้วยประทายเพชร มีจำนวน 120 องค์ แม่พิมพ์เดียวกัน พระพุทธรูป รวมทั้งหมด ทั้งองค์ใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 10,136 องค์ ซึ่งประชาชน ได้พร้อมใจ กันหล่อนำมาถวาย พระพุทธรูปจำนวนมากมายเหล่านี้หมายถึงศิษยานุศิษย์สาวกของพระพุทธเจ้า ตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า เวลาพระองค์เสด็จไปแห่งหนใดสาวก และบริวาร ต้องติดตาม เพื่อรับฟังคำโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์มิได้ขาด

 

พระประธานในสิม

3

เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กทำด้วยทองสำริด แต่เจ้าอนุวงศ์ได้ปฏิสังขรณ์ก่อครอบ ด้วยประทานเพชรฟอกด้วยน้ำปิว และให้พระประธานองค์ใหญ่หันหน้าไปทางด้านเหนือ เพื่อความ สะดวกสบายในไปกราบไหว้สักการะบูชา

 

ราวเทียน ในสิม

4

ราวเทียนในสิม มีความสูงประมาณ 1.88 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ซึ่งเป็นศิลปผสมระหว่างล้านช้างกับล้านนา ทำด้วยไม้เนื้อดีและแกะสลักเป็นรูปพญานาค สองตนเอาหางพันกัน เป็นรูปสวยงามซึ่งหมายถึง ความสามัคคีระหว่างล้านช้างและล้านนา ที่พิเศษคือฟอกด้วยน้ำทองคำปิว สร้างในสมัยเดียวกันกับ วัดสิสะเกด ศตวรรษที่ 19

 

หอพระไตรปิฎก

5

สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก และตำราคัมภีร์ เอการทางพระพุทธศาสนา ถึงแม้วัดสีสะเกดจะไม่ถูกเผาทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ แต่ก็ถูกปล้นสะดมจี้เอาพระไตรปิฎกไปจนหมดเกลี้ยง ปัจจุบันมีเพียงหอพระไตรที่แสดงไว้ให้แขกต่างด้าวท้าวต่างเมืองมาเที่ยวชม ส่วนของหลังคาหอพระไตรปิฎกจะมีความคล้ายคลึงศิลปะของพม่าเพราะในสมัยนั้น อาจได้รับอิทธิพลจากพม่า นอกจากนี้ยังมีแผ่นศิลาจารึก ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวประวัติของวัดสีสะเกด
ในสมัยก่อนวัดสิสะเกดมีอาณาเขตกว้างขวางมากมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ต่อมาในปี ค.ศ.1963 ได้ตัดเส้นทางใหม่ คือถนนเชษฐาธิราช ส่วนประตูโขงด้านหน้าติดกับหอคำ หรือสำนักงานประธานประเทศในปัจจุบัน

ประตูชัยประเทศลาว

6

ประตูชัยประเทศลาว สร้างขึ้นโดยรัฐบาลฝรั่งเศสสมัยเข้ามาครอบครองประเทศ โดยสร้างถนนและประตูชัยให้คล้ายกับชอง เอลิเซ่ในฝรั่งเศส แต่ยังสร้างไม่เสร็จดี ชาวลาวก็ประกาสอิสรภาพเสียก่อน ดังนั้น คำว่าชัยชนะของประตูนี้จึงหมายถึงชัยชนะของชาวลาว บริเวณรอบ ๆ ประตูชัยเป็นลานกว้างมีประชาชนชาวลาวมานั่งเล่นโดยรอบ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมวิวเมืองเวียงจันด้านบนของประตูชัยได้ โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่านให้กับทางเจ้าหน้าที่ ในยามเย็นสถานที่นี้จะเป็นที่ออกกำลังกาย เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองเวียงจัน และนักท่องเที่ยว

 

วัดเจ้าแม่ศรีเมือง

7

วัดเจ้าแม่ศรีเมืองเป็นสถานที่ตั้งของศาลหลักเมือง ศาลเจ้าแม่ศรีเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งชาวลาว ให้ความเคารพนับถือกันเป็นอย่างมากและถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของนครเวียงจันทน์ และเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองของนครเวียงจันทน์ เป็นศาลหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเวียงจันทน์นับถือมากมักจะมาบนบานเพื่อขอสิ่งที่ปรารถนา

นักท่องเที่ยวมักจะมานมัสการเจ้าแม่หลักเมือง  หรือ  เจ้าแม่ศรีเมือง  ณ  วัดศรีเมือง   ซึ่งเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มีคนลาว-ไทย  และชาวต่างประเทศไปสักการบูชา กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล ผู้มาเยือนมักจะเสี่ยงทายดวงชะตา ตามตำนานเล่าต่อ ๆ กันมา ขออะไร มักสมหวังดังปรารถนา ยกเว้นขอเรื่องความรักเท่านั้น

การนมัสการเจ้าแม่ศรีเมืองที่วัดศรีเมืองที่ชาวลาวเคารพสักการะนับว่าเป็นวัดที่ศักดิ์ที่สุดในนครเวียงจันทน์ หากได้มาประเทศลาวต้องมาสักการะเจ้าแม่ศรีเมือง ซึ่งเป็นพุทธสถานเก่าแก่โบราณ ครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประดิษฐานของ  พระแก้วมรกต

วัดศรีเมือง เคยเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ทางทิศตะวันออกของสถานทูตฝรั่งเศส เป็นวัดแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ที่มีประชาชนลาวเดินทางไปสักการะบูชาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน

ภายในวัดศรีเมืองเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ วัดศรีเมืองสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2106 โดยเหล่าเสนาอำมาตย์ของพระเจ้าไชยเชษฐาธราชได้ลงความเห็นให้สร้างวัดศรีเมือง ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาถูกกองทัพสยามทำลายลงในปี พ.ศ.2371 และสร้างวัดศรีเมืองขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2458 ภายในวัดศรีเมืองมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชำรุดไปบางส่วน ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

ด้านหน้าบริเวณตรงข้ามประตูทางเข้าวัดศรีเมืองมีร้านจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน และร้านจำหน่ายผลไม้ให้บริการทางด้านตะวันออกของวัดศรีเมืองมีสวนสาธารณะเล็กๆ มีอนุสาวรีย์พระบรมรูปของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ซึ่งท่านเป็นผู้กอบกู้เอกราชคืนจากฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนแท่นสูงกลางสวนสาธารณะ พระหัตถ์ทรงถือสมุดใบลานที่จารึกประมวลกฏหมายฉบับแรกของลาวไว้ พระบรมรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ นี้เป็นของขวัญที่ทางสหภาพโซเวียตมอบให้มาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  หลังจากนั้นแผ่นป้ายโลหะจารึกพระนามถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์รื้อทิ้งออกไป ภายหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในปี พ.ศ.2518

 

หอพระแก้ว

8

หอพระแก้ว คือสถานที่เคยประดิษฐาน พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานครในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นผู้อัญเชิญ แต่เดิมหอพระแก้วนั้นเคยเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากนครเชียงใหม่ อาณาจักรล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯมากมาย

8.0

สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2480 – 2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก็ยังเดินทางมาสักการบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในแขวงเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน

 

หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

9

หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติตั้งอยู่ในกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งก่อตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโดยเน้นถึงการปฏิวัติในยุค 1970 และตั้งอยู่ในอาคารยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้บริจาคเงินทุนเพื่อช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925โดยเป็นที่พำนักของผู้ว่าราชการฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอประวัติศาสตร์ของประเทศลาวโดยมุ่งเน้นถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวลาวจากนักล่าอาณานิคมต่างชาติรวมถึงกองกำลังจักรวรรดินิยม พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสามแสนไทย ใกล้กับโรงแรมลาวพลาซ่า

 

การเดินทางจากกรุงเทพไปหลวงพระบาง

การขับรถส่วนตัวมาท่องเที่ยวในประเทศสปป.ลาว มีหลายเส้นทาง และค่อนข้างจะสะดวกสบายในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองกว่าในสมัยก่อนมาก เนื่องจากในปัจจุบันประเทศสปป.ลาว ได้เปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีนักท่องเที่ยวนิยมขับรถมาเองเป็นจำนวนมากทั้งจากประเทศไทย จีน เวียดนาม มาเลเซียและประเทศใกล้เคียงอื่นๆ

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวกันแบบเป็นครอบครัวหรือเป็นหมู่คณะและมีเวลามากพอ การขับรถส่วนตัวมาเองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะให้ประสบการณ์อันน่าประทับใจแก่ท่านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศสปป.ลาว มีพรมแดนที่ติดต่อกันเป็นระยะทางยาวถึง 1,810 กิโลเมตร ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย,พะเยา,น่าน,อุตรดิตถ์,พิษณุโลก,เลย,หนองคาย,นครพนม,อำนาจเจริญ,มุกดาหารและอุบลราชธานี และ 9 แขวงของลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว,แขวงไซยะบุรี,แขวงเวียงจันทน์,นครหลวงเวียงจันทน์,แขวงบอลิคำไซ,แขวงคำม่วน,แขวงสะหวันนะเขต,แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก มีจุดผ่านแดนที่สามารถนำรถเข้ามาท่องเที่ยวจากภาคเหนือจรดภาคใต้ของประเทศ สปป.ลาวมี 7 จุดด้วยกัน แต่ในที่นี้จะแนะนำเส้นทางที่นิยมขับรถเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวเมือง หลวงพระบาง เท่านั้น ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เปิดเป็นจุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการมี 3 เส้นทาง ซึ่งอยู่ทางภาคอีสานตอนบนไปจรดภาคเหนือของไทย คือ

1.ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (เส้นสีแดงในแผนที่ map 1) บ้านจอมมณี ต.มีชัย จ. หนองคาย อยู่ตรงข้ามกับนครหลวงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศสปป.ลาว)

 

การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ ท่านสามารถขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่าน จ.สระบุรี
เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) มุ่งหน้าไปทาง จ.นครราชสีมา ผ่าน จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี
และจ.หนองคาย รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 615 กิโลเมตร
จากนั้นตรวจเอกสารการเดินทางและเอกสารรถที่ด่านตม.สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 แล้วขับข้ามสะพานมิตรภาพสู่ เมืองท่านาแล้ง มุ่งหน้าไปยังตัว เมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศ สปป.ลาว)
ระยะทางจากด่านสะพานมิตรภาพ – ตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร

แล้วใช้เส้นทาง ถ. T2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 13 เหนือ ผ่าน ตลาดสีไค ทางแยกหลัก 52 ตัวเมืองวังเวียง เมืองกาสี (จอดแวะรับประทานอาหารที่นี่) เมืองพูคูน เมืองกิ่วกะจำ เมืองเชียงเงินและปลายทางที่แขวงหลวงพระบาง ซึ่งตลอดเส้นทางจาก เมืองกาสีไปจนถึง แขวงหลวงพระบาง จะเป็นการขับรถบนภูเขาสูงเส้นทางคดเคี้ยวสวยงามผ่านโค้งต่างๆมากกว่า 4,000 โค้ง จุดสูงสุดของเส้นทางบนเขาบางช่วงจะมีความสูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล การขับรถจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และหากท่านป็นคนเมารถควรทานยาแก้เมารถป้องกันไว้ก่อนเพื่อจะได้ชื่นชมกับธรรมชาติ 2 ข้างทางอย่างมีความสุข
รวมระยะทางทั้งสิ้นจากเวียงจันทน์ 390 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง

2.ด่านสะพานมิตรภาพน้ำเหือง อยู่บ้านนากระเซ็ง ต.อาฮี อ.ท่าลี่ จ. เลย (เส้นสีน้ำเงินในแผนที่ map 1) อยู่ตรงข้ามกับ บ้านเมืองหมอใต้ เมืองแก่นท้าวซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองไซยะบุรีของประเทศสปป.ลาว

 

การเดินทาง
จาก กรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่านจ.สระบุรี ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 21 ผ่าน
จ.เพชรบูรณ์ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 (เส้นสีชมพูใน map 2) ผ่าน อ.หล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขต จ.เลย ที่ อ.ด่านซ้าย อ.ภูเรือ ถึงตัวเมืองใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง หรือ จาก สระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) ผ่านจ.นครราชสีมา ถึง จ.ขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่าน อำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขต จ.เลย ที่ อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองจ.เลย ได้เช่นเดียวกัน จากตัวเมือง จ.เลย ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 2115 เข้าสู่ อ.ท่าลี่ และต.หนองผือ (map 3)

เพื่อข้ามสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว สู่ บ้านเมืองหมอใต้ จากสะพานมิตรภาพน้ำเหือง 2 กิโลเมตรแรกจะเป็นถนนลาดยางต่อจากนั้นจะเป็นถนนลูกรังไปตลอดเส้นทาง ขับรถไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน เมืองแก้วท้าว และเมืองปากลาย (ควรแวะรับประทานอาหารที่นี่) จนกระทั่งถึง แขวงไซยะบุรี เส้นทางรถวิ่งจะเป็นที่ราบและเนินเขาสลับกันไป ผ่านหมู่บ้านชาวเขาและทิวทัศน์ 2 ข้างทางที่สวยงาม ระยะทางจากด่าน ตม.ถึงเมืองไซยะบุรีรวม 250 กม. จากนั้นจะต้องนำรถข้ามแพขนานยนต์ (ท่าเรือบั๊ค) เพื่อจะข้ามแม่น้ำโขงที่ เมืองปากคอน (ควรเดินทางมาถึงที่นี่ไม่เกิน 19.00 น. เพราะแพขนานยนต์จะหยุดให้บริการ มิฉะนั้นท่านจะต้องค้างคืนที่นี่ 1 คืนรุ่งเช้าจึงจะเดินทางต่อไปได้)
ราคาค่านำรถข้ามแพขนานยนต์ 30,000 กีบ/คัน ระยะทางจากเมืองไซยะบุรีถึงเมืองปากคอน รวม 30 กม.

จากนั้นจะผ่าน เมืองนาน ซึ่งเส้นทางค่อนข้างสูงชันเพราะเป็นช่วงเขาที่สูงที่สุดของเส้นทางนี้ และ เมืองเชียงเงิน เพื่อเดินทางต่อมายัง เมืองหลวงพระบาง ตลอดเส้นทางหลังจากข้ามแพจะไม่มีโรงแรมหรือที่พักดังนั้นจะต้องมุ่งหน้าเพื่อไปพักที่ตัวเมืองหลวงพระบางเท่านั้นระยะทางจากจุดข้ามแพริมแม่น้ำโขงถึงหลวงพระบางประมาณ 85 กม. ตลอดเส้นทางท่านสามารถแวะร้านอาหาร,ห้องน้ำ,ปั๊มน้ำมันได้ 3 จุด คือที่เมืองปากลาย เมืองไซยะบุรีและเมืองเชียงเงินเท่านั้น

**หมายเหตุ** การเดินทางมาหลวงพระบางโดยใช้เส้นทางนี้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางจากสะพานมิตรภาพน้ำเหืองถึงเมืองหลวงพระบางประมาณ 8 ชั่วโมงรวมระยะทาง 365 กิโลเมตร ควรเดินทางเป็นคณะหรือมีรถร่วมเดินทางเพราะสภาพข้างทางเป็นป่าหนาทึบและภูเขา นานๆทีถึงจะเจอหมู่บ้าน หากรถท่านเสียก็สามารถจะช่วยเหลือกันได้ และควรใช้รถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เนื่องจากทางเป็นถนนลูกรังทั้งหมด บางช่วงมีฝุ่นหนาทึบ ความเร็วที่ใช้ได้ไม่เกิน 30 กม./ชั่วโมง
งดเดินทางในช่วงหน้าฝนเพราะถึงจะเป็นรถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อแล้วเอาโซ่พันไว้รอบล้อก็ยังไปไม่รอด หากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ท่านจะต้องเสียค่าล่วงเวลาทำงานให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝั่งลาว เพิ่มอีกคนละ 5,000 กีบ (ประมาณ 20 บาท)

3.ด่าน อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย (เส้นสีเหลืองในแผนที่ map 1) อยู่ตรงข้ามกับบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของประเทศสปป.ลาว

 

การเดินทาง

จาก กรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) ผ่านจังหวัด อยุธยา สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ผ่านตัวเมือง จ.เชียงราย ระยะทางจากกรุงเทพถึงตัวเมืองจ.เชียงราย ประมาณ 785 กม.
จากตัวเมือง เชียงราย ขับต่อไปทางเหนือมุ่งหน้าสู่ อ.แม่จัน จากนั้นจึงเลี้ยวขวาเพื่อใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1016 ผ่าน
อ.เชียงแสน ระยะทางจาก อ.เมืองเชียงราย-อ.เชียงแสน ประมาณ 60 กม.
สามเหลี่ยมทองคำลัดเลาะไปตามเส้นทางริมแม่น้ำโขงที่สวยงาม ผ่านไร่นาสวนส้มและบ้าน หาดบ้าย ซึ่งเป็นหมูบ้านทอผ้าของชาวไทยภูเขาเผ่าลื้อ และ อ.เชียงของ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1129 ระยะทางจาก อ.เมืองเชียงราย – อ.เชียงของ ประมาณ 114 กม.รวมระยะทางจากกรุงเทพ ถึง อ.เชียงของ ประมาณ 930 กิโลเมตร

จากเส้นทางหลวงหมายเลข 1129 เดินทางถึง อ.เชียงของ เลี้ยวซ้ายนำรถไปผ่านพิธีการเสียภาษีและนำรถข้ามแดนที่บริเวณ ท่าเรือบั๊ค (ในวงสีแดง) เพื่อจะนำรถข้ามแพขนานยนต์ไปยัง เมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้วประเทศ สปป.ลาวจาก เมืองห้วยทรายจะต้องขับรถย้อนขึ้นไปทางเหนือผ่าน แขวงหลวงน้ำทา รวมระยะทาง ห้วยทราย-หลวงน้ำทา 158 กิโลเมตร
จาก แขวงหลวงน้ำทา ผ่าน แขวงอุดมไซ รวมระยะทาง หลวงน้ำทา – อุดมไซ 128 กิโลเมตร
และปลายทางที่ แขวงหลวงพระบาง รวมระยะทาง อุดมไซ-หลวงพระบาง ประมาณ 200 กิโลเมตร
สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางเลาะไปตามที่ราบเชิงเขาตลอดทั้งสาย (ใน map1 เป็นเส้นสีเหลือง)

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com