กรุงเทพไม่ได้มีแต่ห้าง!… 12 ที่เที่ยวน่าไปทั่วกรุง

 

 

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

2

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ หรือหอศิลป์เจ้าฟ้า ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า สร้างขึ้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาเลียนประจำราชสำนักสยามเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากโรงงานเครื่องจักร เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ โดยอาคารหลักด้านหน้าเป็นทรงปั้นหยาสูง 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าว สองข้างอาคารหลักต่อเป็นปีกทอดยาว เป็นอาคารชั้นเดียวหักมุมฉาก 4ด้านบรรจบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสเชื่อมต่อกัน บริเวณสันหลังคา เชิงชาย ช่องบานประตู หน้าต่างประดับด้วยลวดลายฉลุไม้งดงาม ปัจจุบันเป็นศูนย์รวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะ ทั้งแบบประเพณีไทยโบราณและแบบสากลร่วมสมัยของศิลปิน ที่มีชื่อเสียงของไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน

06

13

15

DSC04933

0021

DSC04935

DSC04936

21995

21993

21990

2 (1)

3

05

20

วันเปิดทำการ : วันพุธ – วันอาทิตย์

เวลาเปิดทำการ : 09.00 – 16.00

ที่ตั้ง : 4 ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

 ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.finearts.go.th

 

2. KHAOSAN GARDEN

37_20130916131029.

จุดนัดพบสุดชิคที่ใช้เวลาเพียง 1 วันก็สามารถรู้จักเขตพระนครและถนนข้าวสารในอดีตได้แล้ว เพราะรวมพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ร้านอาหารฝรั่งเศส ร้านกาแฟ และร้านเบเกอรี่ไว้ในที่เดียว กับ Khaosan Garden ที่ให้บริการมาตั้งแต่ปลายปี 2555 จากการบูรณะบ้านไกรจิตติซึ่งเป็นบ้านไม้สักอายุกว่า 100 ปีที่ประดับประดาไปด้วยผลงานของศิลปินชื่อดัง บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความร่มรื่น ชวนดื่มด่ำความงามของสถาปัตยกรรมอันล้ำค่า รวมถึงลิ้มรสอาหารเลื่องชื่อจากฝรั่งเศสที่พร้อมเสิร์ฟ ทุกเมนูที่ร้าน Chez Bruno ก่อนจะตบด้วยของหวานอย่างเบเกอรี่และไอศกรีมโฮมเมดสไตล์ฝรั่งเศสที่ร้าน Vanille แล้วปิดท้ายด้วยการดื่มกาแฟของร้าน Malongo ที่หอมกรุ่นตรึงใจ

37_201309161310291.

37_201309161310292.

37_201309161310411.

37_20130916131041.

37_201309161310412.

37_20130916131052.

ที่ตั้ง : 201 ถนนข้าวสาร แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก travel thaiza

 

3. พระราชวังเดิม

Image

พระราชวังเดิม หรือพระราชวังกรุงธนบุรี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี พ.ศ. 2310 ตรงกับการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทย ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในกองบัญชาการกองทัพเรือบริเวณ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยตำแหน่งที่ตั้งของพระราชวังแห่งนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีป้อมปราการที่มั่นคง สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล นอกจากนี้ยังเคยเป็นสถานที่ ที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระราชสมภพ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับโบราณสถานที่ยังปรากฏในพระราชวังเดิม ได้แก่ ท้องพระโรง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ “ท้องพระโรง” หรือ “วินิจฉัย” ลักษณะคล้ายศาลากว้างๆ หลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ยกพื้นด้วยการก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี และส่วนที่สองคือ ส่วนราชมณเฑียร เรียกว่า “พระที่นั่งขวาง” เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ พื้นปูกระดาน เครื่องบนเหมือนท้องพระโรง ปัจจุบันใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และห้องประชุมในบางโอกาส นอกจากนี้ยังมีพระตำหนักเก๋งพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนประยุกต์ จัดแสดงพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน

IMG_1

เก๋งพระปิ่นฯ

เก๋งคู่หลังใหญ่

เก๋งคู่หลังเล็ก

whale_shrine_large

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

เรือนเขียว

ป้อมวิไชยฯ

ที่ตั้ง : ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เปิดทำการวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.30 น.

ขอขอบคุณรูปภาพจาก wangdermplace.org 

 

4. พระราชวังพญาไท

Payathai_palace

พระราชวังพญาไท หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วังพญาไท อดีตพื้นที่บริเวณนี้เป็นสวนทุ่งนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) โปรดเกล้าฯให้ซื้อที่ดินจำนวน 100 ไร่เศษ เพื่อใช้ทดลองปลูกธัญพืชและเป็นที่พักผ่อนพระราชอริยบท สถานที่เสด็จแปรพระราชฐาน และที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 จนเสด็จสวรรคต เคยเปิดเป็นโฮเต็ลพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 7 แล้วจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงด้วย สุดท้ายกลายเป็นโรงพยาบาลทหาร ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

วังพญาไท ในอดีตใช้เป็นท้องพระโรงและบางครั้งใช้เป็นโรงละคร มีจุดเด่นที่งานจิตรกรรมรูปคนและพรรณพฤกษา รวมถึงพระนามาภิไธย “สผ” หรือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูวังพญาไท ให้สวยงามดังเดิม ภายในพระราชวังพญาไทประกอบด้วย

พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นอาคารอิฐเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างโรมาเนสก์กับโกธิค เหนือบานประตูจารึกอักษรพระปรมาภิไธย ร.6 สำหรับห้องชั้นล่าง เช่น ห้องเสวยร่วมกับฝ่ายใน ห้องรับแขก ห้องพักเครื่อง ฯลฯ มีจิตรกรรมสีปูนแห้งอันสวยงาม ส่วนที่ประทับอยู่บริเวณชั้นสอง ประกอบด้วยห้องต่างๆ เช่น ท้องพระโรงกลาง ห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ห้องทรงพระอักษร

พระที่นั่งไวยกูณฐเทพสถาน อาคารมีลักษณะแบบโรมาเนสก์ เดิมเป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ได้มีการต่อเติมชั้น 3 ขึ้นภายหลัง เพื่อจัดเป็นห้องพระบรรทม เคยเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ที่พญาไท

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส หรือชื่อเดิมว่า พระที่นั่งลักษมีพิลาส ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระชายา เป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน มีโดมขนาดเล็ก ลักษณะอาคารเป็นแบบอิงลิช โกธิค มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานจักรีในระดับชั้น 2 ใช้เป็นที่รับรองของเจ้านายฝ่ายใน ที่ฝาผนังตอนใกล้เพดานและเพดาน มีจิตรกรรมลักษณะแบบ อาร์ต นูโว เป็นลายดอกไม้

พระที่นั่งเทวราชสภารมณ์ เป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยยังปรากฏอักษรพระนามาภิไธย สผ (พระนามเดิม สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี)

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ เดิมมีอาคารซึ่งเรียกกันว่า ตึกคลัง ส่วนพระที่นั่งองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในระยะหลัง จึงมีลักษณะต่างไปจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ

พระตำหนักเมขลารูจี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์น้อยขึ้นหนึ่งองค์ที่ริมคลองพญาไทตอนกลาง

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ได้สร้างต่อเติมภายหลังจากการสร้างพระราชวังพญาไทเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีลักษณะอาคารแบบนีโอคลาสสิค โดยอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรี สำหรับเป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักคอยผู้รอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท การจัดแต่งภูมิสถาปัตย์สวนโรมัน เป็นลักษณะแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน

Piman_Chakri

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

Image

1024px-Bkkwangphayathai0905a

440313

Image (2)

Image (1)

440281

440277

440268

440260

440312

พระราชวังพญาไทอยู่ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี เขตราชเทวี สามารถเดินทางไปได้ง่าย ๆ และประหยัดด้วยการขึ้นรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีอนุสาวรีย์ฯ แล้วเดินอีกไม่ไกลไปตามถนนราชวิถีก็จะถึงโรงพยาบาล เปิดให้เข้าชมทุกวันวันเสาร์-วันอาทิตย์ มีวิทยากรนำชม ในเวลา 09.30 น. และ 13.30 น. สำหรับวันจันทร์ – วันศุกร์ จะต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชม

ขอบขอบคุณรูปภาพจาก wikipedia.com , manager.com , oknation.nationtv.tv

5. พระที่นั่งอนันตสมาคม

Ananta_Samakhom_Martinp1

พระที่นั่งอนันตสมาคม อาคารหินอ่อนแบบโดมคลาสสิกโรมัน ผสานศิลปะอิตาเลียนเรอเนอซองส์ และแบบนีโอคลาสสิก ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี บางส่วนแกะสลักเป็นรูปพันธุ์พฤกษาและคนเพื่อประดับอาคาร รูปทรงเป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งโรมและโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอนที่งดงาม ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่รับรองแขกเมืองและประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยมิสเตอร์ เอ็ม.ตามานโย (M.Tamango) ช่างจากอิตาลีเป็นผู้ออกแบบ นายซี อัลเลกรี เป็นวิศวกร เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง หลังจากดำเนินการได้เพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงรับช่วงก่อสร้างต่อจนสำเร็จลงในอีก 6 ปีต่อมาตรงกับ พ.ศ. 2458 รวมทั้งสิ้น 8 ปี ลักษณะเด่นของอาคารแห่งนี้อยู่ที่ช่วงบนซึ่งเป็นรูปโดมทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลางและโดมเล็กๆ รายรอบ 6 โดม ภายในพระที่นั่งบนเพดานโดมตกแต่ง ด้วยภาพเขียนเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 3 6 แห่งราชวงศ์จักรี จำนวน 6 ภาพ ใต้โดมกลางเป็นโดมใหญ่ที่สุดมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เพดานนับจากใต้โดมตลอดบริเวณท้องพระโรงกลาง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” สลับกับ “วปร.” อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบันไดหินอ่อนโค้งสวยงามทอดตัวนำไปยังชั้นบนที่มีลักษณะเป็น ห้องโถงยาว เพดานสูง นอกจากนี้ยังมีลวดลายอันงดงามตั้งแต่เพดานรูปโค้งเชื่อมหัวเสาทั้งสองด้าน ส่วนตัวเสาสร้างด้วยหินอ่อนทั้งต้น มีลวดลายการแกะสลักอย่างงดงาม โดยเฉพาะเสาแบบ “โครินเธียน” ที่หัวเสาสลักด้วยลวดลายใบไม้อันสวยงาม เป็นแบบที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นอกจากนั้นเหนือพระทวารหรือประตูทุกประตู มีตุ๊กตาโรมันแกะสลักจากหินอ่อน มีพวงมาลัยหินอ่อนคล้องคอประดับไว้อย่างน่าชม พระที่นั่งอนันตสมาคมแต่เดิมใช้เป็นที่ประกอบ พระราชพิธีรัฐพิธีต่างๆ และเคยเป็นที่ประชุมรัฐสภา ภายหลังย้ายการประชุมมายังรัฐสภาใหม่ ด้านหลังของพระที่นั่งฯ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรศิลป์แผ่นดิน โดยสถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา อีกสถานที่ที่ไม่ควรพลาดไปเยี่ยมชมความงดงาม

654015_0_1435558075

654015_3_1435558075

559000003111210

559000003111208

559000003111207

654015_1_1435558075

559000003111209

559000003111212

559000003111213

ที่ตั้ง : ถนนราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 เปิดทำการวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น.

 ขอขอบคุณรูปภาพจาก wikipedia , กรุงเทพธุรกิจ , ผู้จัดการ

 

6. บ้านศิลปิน คลองบางหลวง

bangluang01

แหล่งรวมงานศิลป์ทรงคุณค่าที่ควรไปเยี่ยมเยือนสักครั้งในชีวิตที่บ้านศิลปิน คลองบางหลวง คลองที่ตั้งเมืองบางกอกแห่งแรกนับตั้งแต่สมัยอยุธยายาวนานเป็นเวลากว่า 500 ปี ซึ่งต่อมากลายเป็นถิ่นฐานบ้านขุนนางสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ บ้านศิลปินเดิมเป็นบ้านเก่าของ “ตระกูลรักสำรวจ” ตระกูลช่างทองเก่าแก่ ซึ่งทายาทรุ่นสุดท้ายขายบ้านหลังนี้ให้กับคุณชุมพล อักพันธานนท์ เพื่อปรับปรุงให้เป็นสถานที่แสดงงานศิลป์ เป็นที่รวมตัวของกลุ่มศิลปินที่รักงานศิลปะทุกประเภท ที่นี่ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง ตัวอาคารเป็นไม้ทรงมะนิลารูปตัวแอลที่สร้างล้อมรอบเจดีย์เก่า ซึ่งเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าเป็นหนึ่งในสี่ของเจดีย์แต่ละทิศที่กำหนดเขตพื้นที่เก่าของวัด โดยยังคงสภาพเก่าของตัวอาคารไว้อย่างสมบูรณ์ ด้านบนของตัวอาคารเป็นแกลเลอรี่แสดงงานศิลปะ ทั้งภาพวาดและภาพถ่ายให้ได้ชมกัน ส่วนด้านล่างแบ่งเป็นพื้นที่ทำงานศิลปะต่างๆ หนึ่งในนั้นมีการทำเครื่องประดับ อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้เป็นของเก่าที่อยู่กับอาคารหลังนี้ ตั้งแต่สมัยก่อนและทุกวันนี้ยังใช้ได้จริง นอกจากนี้ที่นี่ยังมีการจัดแสดงหุ่นละครเล็กคลองบางหลวง เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กให้ยืนยาว อีกทั้งมีมุมขายของที่ระลึกให้แวะเลือกซื้อโปสต์การ์ด ภาพถ่ายสวยๆ มุมร้านกาแฟให้สั่งเครื่องดื่มมานั่งจิบพร้อมชมวิวทิวทัศน์ริมคลอง และวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อาศัยอย่างเรียบง่ายริมน้ำซึ่งเป็นภาพหาดูได้ยากยิ่ง

รู้ก่อนเที่ยว

ทุกวันอาทิตย์ที่นี่จะมีการฝึกอบรมอาชีพการทำเครื่องประดับให้กับผู้ที่สนใจฟรี โดยไม่คิดค่าอบรม

ชมการแสดงหุ่นละครเล็กฟรี รอบเดียวเท่านั้น บริเวณลานวัฒนธรรม เวลา 14.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันพุธ (คณะหุ่นละครเล็กคลองบางหลวงถือกำเนิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 โดยมุ่งหวังที่จะร่วมเผยแพร่อนุรักษ์ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กในฐานะผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการเชิดหุ่นละครเล็ก และได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์วัชระ ประยูรคำ ปฏิมากรชั้นนำของเมืองไทยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกับกลุ่มศิลปินนักแสดงผู้เชิดหุ่นละครเล็ก และให้คำปรึกษาในการสร้างสรรค์พัฒนาเพื่อต่อยอดการแสดงให้เกิดความหลากหลาย)

12301766_1011254335603277_3676698741019602415_n

12642477_1044553815606662_533695465040363691_n

14657496_1225363077525734_8391216760007215249_n

13001094_1092563767472333_7713133152655757128_n

12938344_1090789844316392_8171405199070335710_n

14611062_1225363144192394_4752457890021490651_n

528112_404647122930671_2032373650_n

bangluang08

bangluang02

bangluang09

bangluang07

15136006_1270641429664565_7059677506364829252_n

ที่ตั้ง : 315 วัดทองศาลางาม ซอยเพชรเกษม 28 ถนนเพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ 10160 เปิดวันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 14.00 – 00.00 น. 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก FB : บ้านศิลปิน คลองบางหลวงartisthousebkk , sarakadee.com

 

7. นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

nitus1

อาคาร 3 ชั้นทรงสวยโดดเด่นบนถนนราชดำเนินกลางติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ คือที่ตั้งของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ศูนย์การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรมของยุครัตนโกสินทร์ที่สมบูรณ์แบบและทันสมัยที่สุด ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย การใช้สื่อผสมเสมือนจริง 4 มิติ สื่อมัลติทัช มัลติมีเดียแอนิเมชัน ในลักษณะอินเตอร์แอคทีฟเซล์ฟเลิร์นนิ่ง (Interactive Self-learning) ในการจัดแสดงนิทรรศการเพื่อความน่าสนใจและสมจริง โดยแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ จัดแสดงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ยุคสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม ชื่นชมความสวยงามของแบบจำลอง เอกลักษณ์ความภูมิใจในศิลปะไทย อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระแก้วมรกตในเครื่องทรงครบทั้ง 3 ฤดู เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นต้น ห้องเรืองนามมหรสพศิลป์ ย้อนยุคบรรยากาศมหรสพสมโภชในมุมมอง 360 องศา ด้วยเทคโนโลยีแอนิเมชั่นลายไทยเรื่องรามเกียรติ์วรรณกรรมอันล้ำค่าของชาติไทย ห้องลือระบิลพระราชพิธี จัดแสดงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารคแบบสามมิติ ห้องสง่าศรีสถาปัตยกรรม เรียนรู้ศิลปะในวัง การสร้างวัด ตัวอย่างบ้านสมัยต่าง ๆ ของกรุงรัตนโกสิทร์ในรูปแบบมัลติทัช ห้องดื่มด่ำย่านชุมชน สัมผัสวิถีชีวิตย่านชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งอดีต ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง ชมแอนิเมชั่นนำเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์ พร้อมบริการถ่ายรูปโบราณเก็บไว้เป็นที่ระลึก ห้องลือระบิลพระราชพิธี ชมภาพถ่ายพระราชพิธี 12 เดือนที่ควรค่าในความทรงจำ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดที่รวมหนังสือและสื่อที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหารและเครื่องดื่มบริเวณชั้นล่างไว้คอยให้บริการ

16406867_10155892300712818_1443384001263007577_n

nitus3

nti

ntp

ntn

nitus2

ntj

ntl

ntr

ntw

ntzm

ntzr

ที่ตั้ง : 100 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 เปิดบริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.00 น. เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ ทุกๆ 20 นาที (รอบสุดท้าย เวลา 18.00 น.) 

 ขอขอบคุณรูปภาพจาก  FB : นิทรรศ์รัตนโกสินทร์   campaign.edtguide.com

 

8. ตึกถาวรวัตถุ

1335009653

ตึกสวยเด่นด้วยลักษณะอาคารยอดปรางค์ 3 ยอด บริเวณถนนหน้าพระธาตุใกล้สนามหลวง ชวนให้เข้าไปเยี่ยมชมความงดงามมีชื่อว่า ตึกถาวรวัตถุ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ตึกแดง” ซึ่งแต่เดิมตึกนี้ เคยเป็นหอสมุดแห่งชาติ โดยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จนในเวลาต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ปัจจุบันที่นี่จึงกลายเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 5 ซึ่งภายในแบ่งส่วนนิทรรศการออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 “ห้องปิยมหาราช” จัดแสดงเนื้อหา ภาพพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจที่สำคัญ รวมทั้งอัญเชิญพระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ มาไว้ในส่วนนี้ ส่วนที่ 2 “ห้องราชเคียงประชา” จัดแสดงพระราชกรณียกิจที่ยังผลให้คนไทยมีความเสมอภาคในสังคม โดยเฉพาะการเลิกทาส ทำให้ราษฎรไทยเป็นไทแก่ตัว ส่วนที่ 3 “ห้องธำรงเอกราช” จัดแสดงพระบรมราชวิเทโศบาย ในการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ช่วยให้ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมือง จากยุคล่าอาณานิคม ส่วนที่ 4 “ห้องสยามใหม่” จัดแสดงการวางรากฐานกิจการด้านสาธารณูปโภคของไทย พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาชาติ ส่วนที่ 5 “ห้องมรดกสถาปัตยกรรมแห่งสยาม” จัดแสดงอาคารจำลอง 3 มิติของสถาปัตยกรรมสำคัญ 5 แห่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนที่ 6 “ห้องมรดกความทรงจำแห่งโลก” จัดแสดงเอกสารทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2411 – 2453 ซึ่งองค์การยูเนสโกประกาศให้เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสามารถเลือกหยิบหนังสือมาอ่านและอ่านสำเนาเอกสารบางส่วน ด้วยระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ได้ และส่วนที่ 7 “ปิยมหาราชรฤก” จัดแสดงภาพถ่ายส่วนพระองค์ที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ก่อนจะแวะซื้อของที่ระลึกเก็บเป็นความประทับใจ อย่างโปสต์การ์ดภาพย้อนอดีตเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไทยกลับบ้านได้ด้วย

1367536983-IMG0044JPG-o

1367537010-IMG0045JPG-o

1367536963-IMG0043JPG-o

1367537031-IMG0046JPG-o

1367537055-IMG0048JPG-o

1367537113-IMG0049JPG-o

1335010035

1335009743

ที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดทำการวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.30 – 16.00 น. 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก m.donmueangairportthai.com , pantip : หนึ่งหน่อง

 

9. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ เขตบางรัก

16864979_1306537932702703_227404951575679647_n

ชมประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวบางรักได้ ณ พิพิธภัณฑ์เขตบางรัก หรือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก สร้างขึ้นเพื่อการเรียนรู้เรื่องราวภายในท้องถิ่น ทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะและภูมิปัญญา โดยพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก มีลักษณะเป็นบ้านโบราณที่สร้างในปี พ.ศ. 2480 เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ อาจารย์วราพร สุรวดี ที่อยากให้บ้านอันเป็นมรดกตกทอดมาจากมารดา คือ คุณสอาง สุรวดี (ตันบุณเต็ก) กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษา ต่อมาตัวบ้านถูกปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดำเนินโดยเอกชน ภายหลังได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแล เมื่อวันที่ 1 ต.ค. พ.ศ.2547 โดยทำเลที่ตั้งเป็นย่านพักอาศัยของชุมชนชาวบางรัก ซึ่งในอดีตเป็นย่านตากอากาศ ชุมชนนานาชาติ และทำเลธุรกิจที่สำคัญมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา สำหรับเนื้อหาในการจัดแสดงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางชาวบางกอกในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประวัติความเป็นมาของบางรัก เรื่องราวของย่านบางรักกับการพัฒนาประเทศ ด้านต่างๆ การสร้างถนน ยานพาหนะ วิวัฒนาการย่านการค้า และจุดเริ่มต้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนสถานที่น่าสนใจเกี่ยวกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชุมชน อาทิ อาสนวิหารอัสสัมชัญ โรงพยาบาลเลิดสิน  วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แฟลตแห่งแรกของไทย และสโมสรแห่งแรกในไทยในสมัยรัชกาลที่ 5  อีกทั้งยังเป็นย่านที่พำนัก ของบุคคลสำคัญ เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์

16804117_1309052879117875_2649959715097413082_o

16836494_1307866922569804_2004835860217038187_o

16684125_1309052905784539_6735242160005930799_n

16864640_1309052915784538_3467433425612067000_n

16649546_1306494872707009_5710877159514030419_n

16681687_1306494856040344_435717829940574869_n

16681852_1306494839373679_8714808624879315898_n

16830927_1306494889373674_8150434052705462266_n

16831107_1306494942707002_4934612445155088665_n

16730455_1306494879373675_241558073910450656_n

16903133_1306494896040340_6851488839702536603_o

16831932_1306494939373669_6872981712237018094_n

14212049_1139087119447786_1930673596913057120_n

ที่ตั้ง : 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก (ตรงข้ามไปรษณีย์กลาง เขตบางรัก) เปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่วันพุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-16.00 น. 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก FB : พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

 

10. พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

1409324978-6JPG-o

พระตำหนักอันเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามของไทย นับวันยิ่งจะหาชมได้ยากยิ่ง ถือเป็นโชคดีของคนไทยที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสรรพื้นที่อันเป็นบริเวณพระตำหนักเก่า จัดเป็น พิพิธภัณฑ์ธนาคาร แห่งประเทศไทย โดยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างโดยใช้เงินพระคลังข้างที่เพื่อให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอในสมัยนั้น จนต่อมาได้กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่กว่า 30 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในจัดแสดงห้องต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ห้องเปิดโลกเงินตราไทย จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ห้องธนบัตรต่างประเทศ ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ห้องประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับไฮไลท์อยู่ตรงที่ผู้ชมจะได้พบกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะออกมากล่าวต้อนรับและอธิบายบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยเทคนิคนำเสนอ Magic Vision พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2485 จนถึงปัจจุบัน และอีกหลากหลาย ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์ธนาคารไทย เช่น ห้องเชิดชูเกียรติ ห้องจุมภฏพงษ์บริพัตร ห้องสีชมพู ห้องบริพัตร ห้องประชุมเล็ก

1409324261-1JPG-o

1409324027-3JPG-o

1409324479-2JPG-o

1409324762-5JPG-o

1409324672-4JPG-o

1409326315-11JPG-o

1409325365-8JPG-o

1409325258-7JPG-o

1409325787-9JPG-o

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหม บริเวณเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตพระนคร สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ฟรีทุกวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.30-16.00.น

ขอขอบคุณรูปภาพจาก pantip : young_pop

 

11. MOCA BANGKOK

13907190_1044500615664138_598923422941760315_n

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยอาคารทรงเหลี่ยมตั้งตระหง่านอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิตออกแบบโดยฝีมือสถาปนิกไทยเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับศิลปะที่มีความเป็นไทย  ตัวอาคารถูกสร้างให้เสมือนการนำหินแกรนิตทั้งก้อนมาแกะสลักด้วยความปราณีตเป็นลายก้านมะลิอันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย  เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านลวดลายฉลุสะท้อนอยู่ทั่วทั้งอาคารสีขาวสะอาดตา   โดดเด่นด้วยประติมากรรม ‘ปิติสุข’  รูปทรงดอกบัวพุ่มที่ตั้งด้านหน้าทางเข้าของอาคารเป็นสัญลักษณ์และเอกลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยหรือ MOCA BANGKOK

บนพื้นที่กว่า 20,000 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงผลงาน 5 ชั้น  แบ่งการจัดแสดงเป็นนิทรรศการหมุนเวียนและนิทรรศการถาวรแสดงผลงานจิตรกรรมประติมากรรมศิลปะสื่อผสมและศิลปะจัดวาง  จากผลงานของศิลปินระดับบรมครูของเมืองไทยหลายท่านกว่า 800 ชิ้นโดยเรียงร้อยเรื่องราวเริ่มจากรูปหล่อของศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณโถงชั้น G  และค่อยๆพัฒนาเข้มข้นขึ้นตามลำดับชั้น 2,3, 4 โดยจบลงที่ชั้น 5  ซึ่งจัดแสดงผลงานไทยเทียบเคียงกับผลงานของศิลปินจากหลากหลายชาติทั่วทุกมุมโลก

ทั้งหมดนี้คุณบุญชัย เบญจรงคกุลผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยล้วนตั้งใจร้อยเรียงเรื่องราวเหตุการณ์ร่วมสมัยในบ้านเมืองของเราในช่วงเวลาต่างๆรวมถึง ขนบประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อและความเป็นอยู่ของสังคมไทยที่ผสานเทคนิคและอิทธิพลจากฝั่งตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรักและหลงใหลในงานศิลปะ  และเจตนารมณ์อันแรงกล้าที่จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันวิจิตรและประณีตของศิลปินไทย

พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ได้รวบรวมงานจิตรกรรมและประติมากรรมไทยร่วมสมัยในรอบ 7ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอความวิจิตรงดงามของงานสร้างสรรค์แก่ทุกคนที่เดินทางมาเยี่ยมเยือน การถือกำเนิดของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยแห่งนี้ ยังถือได้ว่าเป็นการรักษาและสนับสนุนให้ศิลปะและศิลปินในเมืองไทยมีพื้นที่แสดงผลงานต่อไป ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีของวงการศิลปะไทยที่จะสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคงทัดเทียมนานาอารยประเทศได้

นอกจากส่วนจัดแสดงงานศิลปะแล้วทางพิพิธภัณฑ์ยังมีร้านขายของที่ระลึกร้านหนังสือและร้านกาแฟไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจรและมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ทุพพลภาพอย่างครบถ้วน เพื่อสนับสนุนให้ทุกกลุ่มคนสามารถเข้าถึงสุนทรียภาพแห่งงานศิลป์ได้ เช่นมีบริการผู้นำชมพิพิธภัณฑ์ภาษามือห้องสุขาสำหรับผู้ใช้รถเข็นเป็นต้น

DCIM100MEDIADJI_0204.JPG

10898285_706490206131849_2543652296845523190_n

14067580_1045314458916087_6227865387453029389_n

15230745_1145919218855610_5132043037128820927_n

13934907_1039999152780951_6433201748263480247_n

10891568_724293647684838_3076182359639588246_n

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยเลขที่499/50 ถ.วิภาวดีรังสิต (ติดกับอาคารเบญจจินดา) แขวงลาดยาวเขตจตุจักรกรุงเทพฯ 10900 เปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.หยุดวันจันทร์

ขอขอบคุณรูปภาพจาก FB : Moca

 

12. พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน

5054_91326929098_6306037_n

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่อดีตผ่านของสะสมอันเก่าแก่ล้ำค่าของจิม ทอมป์สัน ที่พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน บ้านเรือนไทยของอดีตนายทหารอเมริกัน เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมไหมไทย และยังได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแด่ชาวต่างชาติที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย

เรือนไทยไม้สัก 6 หลัง ประกอบกันเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่มีการจัดแสดงสิ่งของโบราณ ภายใต้การดูแลของมูลนิธิจิม ทอมป์สัน บริเวณด้านหน้าสุดเป็นพื้นที่รับรองนักท่องเที่ยวที่มา ในรูปแบบของร้านอาหาร “จิมทอมป์สันเรสเตอรองท์แอนด์ไวน์บาร์” ( Jim Thompson Restaurant and Wine Bar) ภายในมีห้องซึ่งจัดแบบไทย มีเครื่องเรือน สวนไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงของสะสมของมิสเตอร์จิม มีทั้งศิลปวัตถุจำพวกเครื่องกระเบื้องเคลือบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกระเบื้องจีน มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องลายครามที่ส่งออกในสมัยราชวงศ์หมิง หลายชิ้นได้มาจากอยุธยาเป็นของที่ส่งมาจากเมืองจีนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15– 17 เครื่องเคลือบลพบุรี- เขมร  ทำในบริเวณอาณาจักร ลพบุรีในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เครื่องสุโขทัยและสวรรคโลก เครื่องกระเบื้องของไทยที่ผลิตใน คริสต์ศตวรรษที่ 14  และ 15 เครื่องเบญจรงค์และเครื่องเคลือบลายน้ำทอง เขียนลายไทย ศิลปะสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19  พระวรกายของพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยทวาราวดี “พระแผง”โบราณขนาดใหญ่  ทำมาจากดินเผาประดับด้วยกระจกสี  บรรจุพระไว้ถึง 450องค์ นอกจากนี้ ยังมีภาพจิตรกรรมโบราณจำนวนมาก ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเชิงพุทธศาสนา รวมถึงชุดผ้าพระบฏสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 อีกด้วย การมาเยือนที่นี่อาจทำให้หวนคิดถึงอดีตอันทรงคุณค่าได้มากมาย

Jim-Thompson-House-28076

Jim-Thompson-House-28080

Jim-Thompson-House-28079

Jim-Thompson-House-28074

Jim-Thompson-House-28075

museum_21828

museum_21691

thetrippacker_bkk_jim_thompson_house_n_014_c

thetrippacker_bkk_jim_thompson_house_n_035_c

Jim-Thompson-House-28081

Jim-Thompson-House-28082

Jim-Thompson-House-28084

Jim-Thompson-House-28083

Jim-Thompson-House-28073

Jim-Thompson-House-28071

ที่ตั้ง : ซอยเกษมสันต์ ซอย 2 ถนนพระรามที่ 1 ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ สามารถเข้าชมได้ทุกวัน เวลา 09.00–17.00 น. 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก FB : Jim Thomson House , terrabkk.com , Expedia.co.th

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.tourismthailand.org/king10/en-landing.html

เรียบเรียงโดย www.hotelandresortthailand.com