ตามรอยภาพยนตร์รักจัง ฟังเสียงธาร ที่ “น้ำตกผาดอกเสี้ยว”

 

G7505590-21

 

ถ้ากล่าวถึง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือที่หลายๆ คนมักเรียกสั้นๆ ว่า ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ที่ได้รับความกล่าวขานในเรื่องความสวยงดงามของธรรมชาติ น้ำตก ทิวเขา หรือแม้กระทั่งความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

 

แต่วันนี้ขอพานักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติออกไปสัมผัสความงดงามแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติคอย่างเรื่อง “รักจัง” ที่นำแสดงโดย ฟิลม์ รัฐภูมิ และพอลล่า เทเลอร์ หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉายแล้วนั้น สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้สำหรับผู้ที่รักและชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ใช่แล้วค่ะ!! กำลังเอ่ยถึง “น้ำตกผาดอกเสี้ยว” หรือ “น้ำตกรักจัง” ที่หลายคนนิยมเรียกตามชื่อของภาพยนตร์ดังกล่าว น้ำตกผาดอกเสี้ยว ตั้งอยู่ที่บ้านแม่กลางหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจองทอง จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

G7505590-20

211620-50cc9a0eb8717

 

น้ำตกผาดอกเสี้ยว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง ที่ถูกหลบซ้อนสายตาจากนักท่องเที่ยว และภายใต้ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ เพราะการที่จะเข้าไปพิสูจน์ความงดงามของน้ำตกผาดอกเสี้ยวได้นั้น จะต้องเดินเท้าเข้าไปจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะสามารถพบกับน้ำตกผาดอกเสี้ยวในชั้นแรกได้

 

1a19a3bb040ee537503421ae826b8a50

fa48089e3b1335cd4c8634e0087238c8

646803-img-1355560004-15

 

น้ำตกผาดอกเสี้ยว หรือ น้ำตกรักจัง มีทั้งหมด 10 ชั้น แต่นักท่องเที่ยวสามารถเดินเยี่ยมชมได้เพียง 3 ชั้นเท่านั้น ได้แก่ ชั้นที่ 7, 8 และชั้นที่ 9  ส่วนชั้นที่ 10 อยู่เหนือเส้นทางเดินขึ้นไปในแปลงดอกเบญจมาศของชาวบ้าน และในชั้นที่ 6 ได้ถูกปิดเส้นทางไม่ให้มีการผ่านเนื่องจากชั้นนี้มีความอันตรายมาก เส้นทางการเดินส่วนใหญ่เป็นทางราบ ยกเว้นช่วงใกล้น้ำตกจะมีความลาดชัน แต่ไม่มากยกเว้นบางช่วงที่ค่อนข้างชันมากเป็นพิเศษต้องใช้ความระมัดระวังให้กันเดิน ส่วนชั้นที่เป็นไฮไลท์ที่ได้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องรักจังคือชั้นที่ 7 ที่มีสะพานไม้ทอดตัวอยู่ด้านหน้าน้ำตก และด้วยสายน้ำจากน้ำตกชั้นบนที่ไหลตกลงมากระทบกับน้ำตกชั้นล่างที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร จนเกิดเป็นสายน้ำสีขาว ฟูฟ่อง งดงามเกินคำบรรยาย  อีกทั้งยังมีสะพานไม้ไว้ให้นักท่องเที่ยวเดินข้ามลำธารที่ช่วยทำให้ความสวยงดงามของน้ำตกผาดอกเสี้ยว น่ามองเข้าไปอีกตามแบบฉบับที่ได้ชมในภาพยนตร์เรื่อง รักจัง ส่วนที่มาของชื่อ น้ำตกผาดอกเสี้ยว มาจากชื่อ ต้นเสี้ยว ซึ่งเป็นไม้เด่นบริเวณน้ำตกนั่นเอง

 

1382586075-MG0159-o

e2c92f0f411fa587d4f37d07f80fb52f

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมความสวยงามของน้ำตกผาดอกเสี้ยว แล้ว ยังได้ศึกษาและชื่นชมธรรมชาติตลอดสองข้างทางได้ เพลิดเพลินไปกับนาขั้นบันไดบ้านแม่กลางหลวงที่หาชมได้ยากเต็มที รวมไปถึงวิถีชีวิตของชาวปกาเกอญอ ที่เลื่องชื่อในด้านการอนุรักษ์อีกด้วย นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังมีโอกาสแวะชมไร่กาแฟอราบริกา พร้อมแวะชิมกาแฟแม่กลางหลวงในลักษณะการชงแบบพื้นเมืองที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งเกิดจาการคั่วบดเอง หากได้ลองชิมแล้วติดใจก็สามารถหาซื้อเมล็ดกาแฟกลับไปได้ด้วยเช่นกัน ส่วนดงดอกเสี้ยวซึ่งเป็นที่มาของชื่อน้ำตกผาดอกเสี้ยวนั้น จะอยู่ไม่ไกลจากบริเวณน้ำตกมากนัก โดยจะออกดอกให้ชมในเดือนเมษายนของทุกปี

 

1384691089-SCL3723111-o

1384691115-SCL3711-o

1384691176-SCL3616-o

121129110831893

 

การเดินทาง

  • การเดินทางโดนรถยนต์ส่วนตัว : สามารถเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่ – ฮอด) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง – ดอยอินทนนท์) อีกประมาณ 26 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านแม่กลางหลวง และสามารถเดินเท้าไปยังน้ำตกผาดอกเสี้ยว ได้เลย โดยเริ่มจากที่แม่กลางหลวง
  • การเดินทางโดยรถประจำทาง :

– จากกรุงเทพฯ นั่งรถสาย กทม. – จอมทอง ซึ่งมีทั้งรถ ปอ.1 และ ปอ.2 หลังจากนั้นให้ต่อรถสองแถวที่อำเภอจอมทอง

– จากจอมทอง นั่งรถสอยจอมทอง – แม่แจ่ม เป็นรถสองแถวสีเหลือง คิวรถจะอยู่ที่ข้างวัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยที่รถจะออกก็ต่อเมื่อผู้โดยสารเต็ม รถจะผ่านเข้าเส้นทางไปอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แล้วบอกคนขับว่า ลง กม. ที่ 26 บ้านแม่กลางหลวง หลังจากนั้นก็เดินเข้าไปในหมู่บ้านอีกประมาณ 500 เมตรก็จะถึงบ้านแม่กลางหลวง

 54eb1b7984c41c6e9adc3bcb7c2fb361

 

เรียบเรียงโดย  www.hotelandresortthailand.com

ขอขอบคุณรูปภาพจาก :  Nai_Sailom , Lek thongkham , Voraphon Jaraskittikorn , kairatfern@gmail.com 88408840 , Chotiwut Techakijvej ,  ชายเก็บแสง